เนการาบรูไนดารุสซาลาม
- ชื่อทางการ
เนการาบรูไนดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam แปลว่า ดินแดนแห่งความสงบสุข)
- ที่ตั้ง อาณาเขต
บรูไน (Brunei) หรือ รัฐบรูไนดารุสซาลาม (State of Brunei Darussalam)ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว ทิศตะวันออก ตะวันตกและทิศใต้ ติดเขตซาราวัก ประเทศมาเลเซีย โดยพื้นที่ร้อยละ 70 เป็นป่าไม้
- ขนาดพื้นที่
บรูไนมีขนาดพื้นที่ 5,765 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็น 4 เขต คือ Brunei-Muara, Belait, Temburong และTutong
- ลักษณะทางภูมิประเทศ
บรูไนอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว ดิน แดนของบรูไนถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน โดยมีพื้นที่ของรัฐซาราวักของมาเลเซียกั้นไว้เป็นภาคตะวันออก และตะวันตก แม้จะเป็นดินแดนเล็กๆแต่ก็ร่ำรวยที่สุดแห่งหนึ่งในทวีปเอเชีย เนื่องจากมีทรัพยากรน้ำมันอยู่มาก ลักษณะภูมิประเทศประกอบด้วยที่ราบชายฝั่งทะเลและที่ราบ หุบเขาซึ่งเป็นดินตะกอนที่แม่น้ำพัดมาทับถม บริเวณที่อยู่ห่างจากชายฝั่งเข้าไปภายในเกาะ ส่วนใหญ่เป็นเนินเขา ดินแดนทางภาคตะวันออกมีลักษณะขรุขระและสูงกว่าตะวันตก
- ภูมิอากาศ
ในประเทศบรูไนเป็นภูมิอากาศเขตร้อน มีอุณหภูมิสูง ความชื้นสูง และ ฝนตกเกือบตลอดปี อุณหภูมิประมาณ 24 -32 องศาเซลเซียส พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้เขตร้อน อุดมด้วยน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
- เมืองหลวง
บันดาร์เสรีเบกาวัน (ภาษาอังกฤษ : Bandar Seri Begawan) เป็นเมืองหลวงและเมืองท่าที่สำคัญของประเทศบรูไนอยู่ในเขตการปกครองบรูไน-เมารา มีประชากรประมาณ 60,000 คน เดิมชื่อว่า เมืองบรูไน ภายหลังเมื่อบรูไนพ้นจากการคุ้มครองของอังกฤษแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็นบันดาร์เสรีเบกาวัน
- ประชากร
จำนวนประชากร 300,000 คน ความหนาแน่นของประชากร 52 คนต่อตารางกิโลเมตร ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวมาเลย์คือร้อยละ 68.8 ชาวจีนร้อยละ 18.3 ชนเผ่าต่างๆร้อยละ 5.0 ชาวอินเดียและอื่นๆร้อยละ 7.9
ผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสดใส โดยมากมักจะเป็นเสื้อผ้าที่คลุมร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ผู้หญิงมุสลิมจะสวมผ้าคุมศีรษะในที่สาธารณะ และในสถานที่ราชการ
ผู้ชายมุสลิม แต่งกายเป็นทางการทั้งในสถานที่ราชการ และที่สาธารณะ คือจะสวมเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวถึงเข่านุ่งกางเกงขายาวแล้วนุ่งโสร่ง
- การเมืองการปกครอง
สุลต่านแห่งบรูไน
บรูไน ปกครองระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ กำหนดให้สุลต่านทรงเป็นอธิปัตย์ คือเป็นทั้งประมุข นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นชาวบรูไนเชื้อสายมาเลย์โดยกำเนิด และจะต้องเป็นมุสลิมนิกายสุหนี่ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัลโบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ (His Majesty Sultan HajiHassanal Bolkiah Mu’izzaddin Waddaulah)ทรงเป็นสมเด็จพระราชาฯ องค์ที่ 29 เป็นองค์พระประมุขของประเทศตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2510 ซึ่งในปีนี้ (2551) เป็นวาระเฉลิมฉลองพระชนมายุครบ 62 ปี ของสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนฯ
นโยบายหลักของบรูไน ได้แก่การสร้างความเป็นปึกแผ่นภายในชาติ และดำรงความเป็นอิสระของประเทศ กองทัพของบรูไน (Royal Brunei Armed Forces หรือ RBAF) มีกำลังพลเพียง 7,000 นาย และกำลังสำรอง 700 นาย โดยแบ่งเป็นกองทัพบก 4,900 นาย กองทัพเรือ สุลต่านมีกองทหารกูรข่าของพระองค์เอง เรียกว่า Gurkha Reserve Unit (GRU) จำนวน 2,500 นาย และกองทหารกูรข่าของอังกฤษ (British Gurkha) รวมกำลังพล 1,000 คน ประจำอยู่ที่ เมืองเซรีอาเพื่อดูแลรักษาความปลอดภัย ให้แก่บ่อน้ำมัน และกิจการผลิตน้ำมันของ Brunei Shell Petroleumโดยรัฐบาลบรูไนเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย
เขตการปกครอง แบ่งเป็น 4 เขต (districts - daerah) คือ
1. บรูไนและมูอารา
2. เบเลต
3. ตูตง
4. เตมบูรง
- ภาษา
บรูไนใช้ภาษามาเลย์ (Bahasa Melayu) เป็นภาษาราชการ ภาษาอังกฤษและภาษาจีนเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารแพร่หลาย
- ศาสนา
ชาวบรูไนนับศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่ 67% รองลงมาเป็นศาสนาพุทธนิกายมหายาน 13% ศาสนาคริสต์ 10%ศาสนาฮินดู ความเชื่อพื้นเมืองและอื่นๆ
มัสยิดโดมทองของบรูไน
- เศรษฐกิจ
บรูไน เป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับสามในภูมิภาคอาเซียน รองจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติ LNG อันดับสี่ของโลก จึงมีรายได้หลักจากการส่งออกน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ คิดเป็นมูลค่ากว่าร้อยละ90 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดโดยส่งออกไปยังญี่ปุ่น อออสเตรเลีย จีนอินเดีย สิงคโปร์ ไทย และเกาหลีใต้ ในขณะเดียวกัน บรูไนฯ นำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค อาหาร และเครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องมือ เครื่องใช้ไฟฟ้าจากสิงคโปร์ อังกฤษ มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา
นอกเหนือจากอุตสาหกรรมน้ำมัน บรูไนฯ ยังมีอุตสาหกรรมอื่นๆ อีก เช่น อุตสาหกรรมฮาลาล โดยรัฐบาลได้เปิดตัวโครงการ Brunei Premium Halal Brand ขึ้น ภายใต้ความร่วมมือกับภาคเอกชนออสเตรเลีย เพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้าและอาหารฮาลาลบรูไนฯ สู่ตลาดสากล นอกจากนี้ ยังส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ โดยมีจุดขายอยู่ที่การเป็นประเทศที่มีความสงบและปลอดภัย และมีนโยบายจะพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางทางการค้าและท่องเที่ยว (Service Hub for Trade and Tourism – SHuTT 2003 Vision) และการรักษาพยาบาล
ปัจจุบันบรูไน สามารถสร้างโรงงานผลิตเมทานอล ขึ้นที่เขตอุตสาหกรรม Sungai Liang นอกจากนี้รัฐบาล พยายามส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติและการลงทุนภายในประเทศ ในโครงการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน บรูไนกำลังพยายามเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจที่พึ่งพาน้ำมันเป็นหลักไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยรัฐบาลได้ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมมีบทบาทมากขึ้น มีมาตรการเปิดเสรีด้านการค้าและสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนจากต่างประเทศ อย่างไรก็ดี การพัฒนายังเป็นไปย่างล่าช้า เนื่องจากอุปสรรคหลายประการ อาทิ กฎระเบียบที่เคร่งครัดต่าง ๆการห้ามชาวต่างชาติเป็นเจ้าของกิจการ การขาดช่างฝีมือ ประกอบกับคนบรูไน ไม่คุ้นเคยกับวิถีชีวิตแบบใหม่และระบบเศรษฐกิจการค้าเสรี ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนจากต่างชาติ
- สกุลเงิน
เงินตรา ดอลลาร์บรูไน (Brunei Dollar) ประมาณ 1.84 ดอลลาร์บรูไน/ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ หรือประมาณ 24.8 บาท/1ดอลลาร์บรูไน (เงินดอลลาร์บรูไนมีมูลค่าเท่ากับเงินดอลลาร์สิงคโปร์และสามารถใช้แทนกันได้)
- ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
ไทยและบรูไนสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ระหว่างกันเมื่อ 1 มกราคม 2526 ทั้งสองฝ่าย มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด และดำเนินด้วยดีมาโดยตลอด มีการแลกเปลี่ยนการเยือน ระดับราชวงศ์และผู้นำระดับสูงอยู่เสมอ ทั้งสองฝ่ายมีทัศนคติที่ดีต่อกัน ไม่เคยมีความบาดหมางทางประวัติศาสตร์ และมักเป็นพันธมิตรในเรื่องต่าง ๆ ทั้งในกรอบอาเซียน และกรอบสหประชาชาติ
ภัทร โตจิตต์ ม.4/5 เลขที่ 4
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น