วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

ประเทศพม่า


สหภาพพม่า
         ประเทศพม่า หรือ ประเทศเมียนมาร์ ชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหภาพพม่า เป็นประเทศใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่เดิมชาวตะวันตกเรียกประเทศนี้ว่า พม่า (Burma) ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. 2532 พม่าได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น พม่า (Myanmar) แต่พม่าเรียกชื่อเขาเองว่า มยะหม่า
 ที่ตั้งอาณาเขต  
          สหภาพมีพรมแดนติดต่อกับ 5 ประเทศ ดังนี้
               ทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ติดกับจีน (2,185 กิโลเมตร)
               ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ติดกับลาว (235 กิโลเมตร) และไทย (2,401 กิโลเมตร)
               ทิศตะวันตก ติดกับอินเดีย (1,463 กิโลเมตร) และบังกลาเทศ (193 กิโลเมตร)                                                      ทิศใต้ ติดกับทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล
เขตแดนไทย-พม่า
           สหภาพพม่ามีเส้นเขตแดนติดต่อกับประเทศไทย ยาวประมาณ 2,400 กิโลเมตร ในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี  ประจวบคีรีขันธ์      ชุมพร  และระนอง
 พื้นที่   
       สหภาพพม่า มีพื้นที่ทั้งหมด 657,740 ตารางกิโลเมตร หรือมีขนาดประมาณ 1.3 เท่าของประเทศไทย
 ลักษณะภูมิประเทศ  
      สหภาพพม่ามีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นผืนดิน โดยมีส่วนที่เป็นผืนดินถึง ร้อยละ 97 ของพื้นที่ทั้งหมด และมีส่วนที่เป็นผืนน้ำประมาณร้อยละ 3
      ภาคเหนือ – เทือกเขาปัตไก เป็นพรมแดนระหว่างพม่าและอินเดีย       ภาคตะวันตก – เทือกเขาอาระกันโยมากั้นเป็นแนวยาว                     ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ – เป็นที่ราบสูงชัน                                   ภาคใต้ – มีทิวเขาตะนาวศรี กั้นระหว่างไทยกับพม่า
      ภาคกลาง – เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี
ลักษณะภูมิอากาศ  
-มรสุมเมืองร้อน
-ด้านหน้าภูเขาอาระกันโยมา ฝนตกชุกมาก
-ภาคกลางตอนบนแห้งแล้งมาก เพราะมีภูเขากั้นกำบังลม
-ภาคกลางตอนล่าง เป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำขนาดใหญ่ ปลูกข้าวเจ้า ปอ
-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศค่อนข้างเย็น และแห้งแล้ง



เมืองหลวง  
        เมืองหลวงของสหภาพพม่า คือ เปียงมนา เนปิดอว์ (ย้ายเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2548 ซึ่งนับเป็นการย้ายเมืองหลวงครั้งที่ 11 ของประวัติศาสตร์พม่า)




เมืองเนปิดอร์ เมืองหลวงของพม่า

 ประชากร     
      ประชากร 48.1 ล้านคน (ปี 2552) มีเผ่าพันธุ์ 135 เผ่าพันธุ์ ประกอบด้วย เชื้อชาติหลักๆ 8 กลุ่ม คือ
           - พม่า คิดเป็นร้อยละ 68 ของประชากรทั้งหมด
           - ไทยใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 8 ของประชากรทั้งหมด
           - กะเหรี่ยง คิดเป็นร้อยละ 7 ของประชากรทั้งหมด
           - ยะไข่ คิดเป็นร้อยละ 4 ของประชากรทั้งหมด
           - จีน คิดเป็นร้อยละ 3 ของประชากรทั้งหมด
           - มอญ คิดเป็นร้อยละ 2 ของประชากรทั้งหมด
           - อินเดีย คิดเป็นร้อยละ 2 ของประชากรทั้งหมด
           - อื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 6 ของประชากรทั้งหมด

  ศาสนา
              ศาสนาพุทธร้อยละ 90   ศาสนาอิสลามร้อยละ 4  ศาสนาฮินดูร้อยละ 4  และศาสนาคริสต์ร้อยละ 2


  ภาษา 
      ร้อยละ 85 ใช้ภาษาพม่า  ส่วนที่เหลือพูดภาษากระเหรี่ยง มอญ จีนกลาง  ภาษาราชการ คือ  ภาษาพม่า และภาษาอังกฤษ

 วัฒนธรรม
        ชาวพม่าถือว่าวัฒนธรรมเป็นดั่งรากแก้วของต้นไม้ที่ต้องปกปักรักษา วัฒนธรรมที่บ่งบอกความเป็นพม่า เช่น ภาษาพม่า พุทธศาสนา การบริโภคน้ำชา และที่เห็นได้ชัดอีกสิ่งหนึ่งก็คือการแต่งกาย ในอดีตแม้พม่าจะเคยเป็นอาณานิคมของตะวันตก แต่ชาวพม่าก็ยังคงวิถีชีวิตเดิมไว้ได้มาก ผู้ชายยังนิยมนุ่งโสร่ง ผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่น ทั้งยังชอบสวมรองเท้าแตะ และทาแป้งตะนาคา


การแต่งกายประจำชาติสหภาพพม่า

 การเมืองการปกครอง
       ระบบการปกครองของสหภาพพม่าเป็นแบบเผด็จการทางทหาร ปกครองโดย รัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council – SPDC)โดยมีประธาน SPDC เป็นประมุขประเทศ และ มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล
               - ประธาน SPDC พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย (Senior General Than Shwe)
               - นายกรัฐมนตรี พลเอก โซ วิน (General Soe Win)



ธงชาติสหภาพพม่า


การแบ่งเขตการปกครอง
      สหภาพพม่า แบ่งเขตการปกครองเป็น 7 รัฐ (state) สำหรับเขตที่ประชากร ส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อย ประกอบด้วย
               (1) รัฐชิน (Chin) เมืองเอก คือ ฮะคา
               (2) รัฐกะฉิ่น (Kachin) เมืองเอก คือ มิตจีนา
               (3) รัฐกะเหรี่ยง (Kayin) เมืองเอก คือ ปะอาน
               (4) รัฐกะยา (Kayah) เมืองเอก คือ หลอยก่อ
               (5) รัฐมอญ (Mon) เมืองเอก คือ มะละแหม่ง
               (6) รัฐยะไข่ (Rakhine) เมืองเอก คือ ซิตตเว
               (7) รัฐฉาน หรือรัฐไทใหญ่ (Shan) เมืองเอก คือ ตองยี
เขตที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายพม่า ประกอบด้วย
               (1) เขตอิระวดี (Ayeyarwady) เมืองเอก คือ พะสิม
               (2) เขตพะโค (Bago) เมืองเอก คือ พะโค
               (3) เขตมาเกว (Magway) เมืองเอก คือ มาเกว
               (4) เขตมัณ ฑะเลย์ (Mandalay) เมืองเอก คือ มัณฑะเลย์
               (5) เขตสะกาย (Sagaing) เมืองเอก คือ สะกาย
               (6) เขตตะนาวศรี (Tanintharyi) เมืองเอก คือ ทวาย
               (7) เขตย่างกุ้ง (Yangon) เมืองเอก คือ ย่างกุ้ง
    10. เศรษฐกิจ
          สหภาพพม่ามีระบบเศรษฐกิจแบบกลไกการตลาด โดยภาครัฐบาลมี กฎระเบียบควบคุมอย่างเข้มงวด โดยภาคเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ภาคการ เกษตรกรรมร้อยละ 40.9 รองลงมา คือ ภาคบริการร้อยละ 39.3 และ ภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 19.8 (ปี 2551)
        1.   ภาคการเกษตร ผลผลิตที่สำคัญได้แก่ ข้าว ไม้สัก ถั่วต่างๆ งา ยางพารา อ้อย ฝ้าย ข้าวโพด ปาล์มน้ำมัน โค กระบือ และสินค้าประมง
        2.   ภาคบริการ ที่สำคัญ ได้แก่ การค้าส่งและค้าปลีก ธุรกิจธนาคารและ สถาบันการเงิน การขนส่ง โทรคมนาคมการท่องเที่ยว และโรงแรม
        3.   ภาคอุตสาหกรรม ที่สำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน อัญมณี สินแร่ สิ่งทอ สินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องดื่ม และเฟอร์นิเจอร์ไม้



สกุลเงิน   
          จั๊ต (Kyat)     อัตราการแลกเปลี่ยน    ประมาณ 0.1934 จั๊ต ต่อ 1 บาท (ธันวาคม 2552)





 ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
       ไทยและพม่าได้ลงนามความตกลงทางวัฒนธรรมไทย-พม่า เมื่อวันที่  24 สิงหาคม 2542  โดยกำหนดให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความร่วมมือในการบูรณะปฏิสังขรณ์โบราณสถานและโบราณวัตถุในพม่า
        ไทยให้ความร่วมมือทางวิชาการแก่พม่าใน 3 สาขาคือ การเกษตร การศึกษา และสาธารณสุข นอกจากนี้ ฝ่ายไทยได้ให้ความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปศุสัตว์และการประมง การคมนาคม การท่องเที่ยว วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการบินพลเรือนด้วย
ศศิคุณ กาญจนพิบูลย์ ม.4/5 เลขที่ 27

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น