สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)
ชื่อทางการคือ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines) เป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะจำนวน 7,107 เกาะ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากเอเชียแผ่นดินใหญ่ทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 100 กม.และมีลักษณะพิเศษคือเป็นประเทศเพียงหนึ่งเดียวที่มีพรมแดนทางทะเลที่ติดต่อระหว่างกันยาวมากที่สุดในโลก
ธงชาติฟิลิปปินส์ มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน ตอนต้นธงเป็นรูปสามเหลี่ยมสีขาว ภายในมีรูปดวงอาทิตย์รัศมี 8 แฉก ล้อมด้วยดาวห้าแฉก 3 ดวง ตามมุมของรูปสามเหลี่ยม รูปเหล่านี้เป็นสีทอง ส่วนทีเหลือของธงนั้นเป็นแถบแบ่งครึ่งตามด้านยาวของธง ครึ่งบนพื้นสีน้ำเงิน ครึ่งล่างพื้นสีแดง หากแถบทั้งสองสีนี้สลับตำแหน่งกัน คือ แถบสีแดงอยู่บน แถบสีน้ำเงินอยู่ตอนล่าง แสดงว่าประเทศฟิลิปปินส์อยู่ในภาวะสงคราม
ธงชาติฟิลิปปินส์แบบปัจจุบันได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการในปี
พ.ศ. 2489 เมื่อเป็นอิสรภาพจากสหรัฐอเมริกา
แต่การประกาศใช้ธงมีมาตั้งแต่เมื่อเป็นอิสรภาพจากสเปนใน พ.ศ. 2441
แต่ถูกอเมริกาเข้ายึดครองเกือบทันที ธงที่ประกาศใช้ปี พ.ศ. 2441
ได้ใช้เป็นธงชาติเมื่อ พ.ศ. 2450 และอีกช่วงคือ พ.ศ. 2464
จนถึงสมัยญี่ปุ่นยึดประเทศในปี พ.ศ. 2484
ตราแผ่นดินของฟิลิปปินส์ (Coat of Arms of the Philippines)มีลักษณะเป็นพระอาทิตย์มีรัศมีแปดแฉกซึ่งแสดงถึงจังหวัดทั้งแปด
(บาตันกัส บูลาจัน กาวิเต มะนิลา ลากูนา นูเอวา เอจิยา ปัมปางาและตาร์ลัก)
ซึ่งอยู่ภายใต้กฏอัยการศึกระหว่างการปฏิวัติฟิลิปปินส์
และดาวห้าแฉกสามดวงแสดงถึงเขตทางภูมิศาสตร์หลักสามแห่งคือลูซอน วิซายา และ
มินดาเนา พื้นสีน้ำเงินทางด้านซ้ายมีนกอินทรีของสหรัฐอเมริกา
และพื้นสีแดงทางด้านขวามีสิงโตของสเปน ซึ่งแสดงถึงประวัติศาสตร์ในการเป็นอาณานิคม
การออกแบบนี้คล้ายกับการออกแบบโดยเครือจักรภพแห่งฟิลิปปินส์เมื่อพ.ศ.2483
เมืองหลวง; มะนิลา (Manila or Maynila) ตั้งอยู่บนชายฝั่งตะวันออกของอ่าวมะนิลา บนเกาะลูซอนซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดและตั้งอยู่ทางเหนือสุดของฟิลิปปินส์
เป็นเมืองที่มีชนชาติรวมกันอยู่มากมาย และเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม
การศึกษา และอุตสาหกรรมของประเทศ มีจำนวนประชากรมากกว่า 10 ล้านคน
ที่ตั้ง
อาณาเขต และพื้นที่ ประเทศฟิลิปปินส์ทางทิศตะวันตกและทิศเหนือติดกับทะเลจีนใต้
ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพื้นที่พื้นที่ 298,170
ตารางกิโลเมตร
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นหมู่เกาะของเทือกเขาหินใหม่ พื้นที่ทุกเกาะมีภูเขาเป็นแกนกลาง
มีที่ราบอยู่น้อย เป็นที่ราบแคบ ๆ ที่ราบสำคัญ คือ ที่ราบตอนกลางของเกาะลูซอน
เรียกว่า ที่ราบมะนิลา เป็นที่ราบที่ใหญ่ที่สุด
ลักษณะภูมิอากาศ มรสุมเขตร้อน
ได้รับความชุ่มชื้นจากลมมรสุมทั้ง 2 ฤดูได้รับฝนจากลมพายุไต้ฝุ่น
และดีเปรสชั่น บริเวณที่ฝนตกมากที่สุด คือ เมืองบาเกียว
เป็นเมืองที่ฝนตกมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประชากร ชนเผ่า Negritos เป็นชนเผ่าดั้งเดิม
มีลักษณะคล้ายพวกเงาะป่าในประเทศตอนใต้
ปัจจุบันได้มีการผสมเผ่าพันธุ์อื่นๆ จนมีเหลือที่เป็น Negritos แท้มีไม่มากนัก
ส่วนพวกประชากรลูกประสมที่เรียกว่า Mestizo มีอยู่ร้อยละ 2
แต่มีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก จากการศึกษาเผ่าพันธุ์ Stanfor Genetic Study ชาวฟิลิปปินส์มีเลือดผสมที่มาจากยุโรปประมาณร้อยละ
3.6
สำหรับชาวต่างชาติที่ได้เข้ามาอยู่ในฟิลิปปินส์และกลายเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีมากที่สุดคือชาวจีน
มีเป็นร้อยละ 3 ของประชากร
ที่เหลือนอกนั้นมีกระจัดกระจาย เช่น อเมริกาเหนือ สเปน และพวกชาวยุโรป แมกซิกันจากทวีปอเมริกาตอนกลาง
และจากทางประเทศทางอเมริกาใต้) มีบางส่วนจากอาหรับ จากเอเซียใต้ ประเทศอินโดนิเซีย
เกาหลี ญี่ปุ่น เวียดนาม และผู้อพยพจากเอเซียอื่น
การเมืองการปกครอง ประวัติศาสตร์การเมืองในฟิลิปปินส์ไม่ค่อยราบรื่นตั้งแต่สมัยอยู่ภายใต้การปกครองของสเปนและสหรัฐอเมริกา
ความพยายามในการต่อสู้เพื่อเอกราช แม้เมื่อได้รับ เอกราชแล้วในปี พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) อันเป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่
2
ฟิลิปปินส์ยังคงเผชิญกับความวุ่นวายทางการเมืองภายในประเทศมากมายที่ทำให้รัฐบาลปัจจุบันต้องหาทางแก้ไขต่อไป
ฟิลิปปินส์ได้รับเอกราชโดยสมบูรณ์เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2489 ปัจจุบันปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยมีประธานาธิบดีเป็นผู้บริหารสูงสุด
และมีการเลือกตั้งผู้ปกครองในทุกระดับชั้นตั้งแต่ประธานาธิบดี รองประธานาธิบดี
วุฒิสมาชิก จนถึงผู้ปกครองท้องถิ่นในระดับบารังไก (Barangay) ซึ่งเป็นหน่วยปกครองเล็กที่สุดเทียบเท่าระดับหมู่บ้าน
รัฐบาลท้องถิ่นในแต่ละจังหวัดมีอิสระในการปกครองตนเองภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทย
(Department of Interior and Local
Government)
เศรษฐกิจ ในด้านเกษตรกรรม
พืชเศรษฐกิจสำคัญได้แก่ มะพร้าว อ้อย ป่านอบากา และข้าวเจ้า ในด้านป่าไม้ ไม้ที่เป็นรายได้สำคัญ
คือ ไม้มะฮอกกานี ในด้านเหมืองแร่ แร่ส่งออกที่สำคัญคือ เหล็ก โครไมต์ ทองแดง เงิน
และในด้านอุตสาหกรรม ใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น โรงงานเยื่อกระดาษ แปรรูปไม้
ปูนซีเมนต์
ภาษา ในประเทศฟิลิปปินส์มีการใช้ภาษามากกว่า
170 ภาษา โดยส่วนมากเกือบทั้งหมดนั้นเป็นตระกูลภาษาย่อยมาลาโย-โปลินีเซียนตะวันตก
แต่ในปี พ.ศ. 2530 รัฐธรรมนูญได้ระบุให้ภาษาฟิลิปิโน(ภาษาฟิลิปิโนนี้เป็นสำเนียงมาตรฐานของภาษาตากาล็อก
ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติขิงฟิลิปปินส์)และภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ
ส่วนภาษาต่างประเทศอื่นๆ
ที่ใช้กันมากในฟิลิปปินส์มีทั้งหมด 8 ภาษา ได้แก่ ภาษาสเปน ภาษาจีนฮกเกี้ยน
ภาษาจีนแต้จิ๋ว ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาซินด์ ภาษาปัญจาบภาษาเกาหลี และภาษาอาหรับ
ศาสนา ร้อยละ 92
ของชาวฟิลิปปินส์ทั้งหมดนับถือศาสนาคริสต์ โดยร้อยละ 83 นับถือนิกายโรมันคาทอลิก
และร้อยละ 9 เป็นนิกายโปรเตสแตนต์ ที่เหลืออีกร้อยละ 8 นั้น นับถือศาสนาอิสลาม ศาสนาพราหมณ์–ฮินดู และศาสนาพุทธตามลำดับ
สกุลเงิน สกุลเงินของฟิลิปปินส์คือเปโซ
(Peso) 1
เปโซฟิลิปปินส์ มีค่าประมาณ 0.7261 บาท
อาหารประจำชาติ “อะโดโบหรือสตูว์ฟิลิปปินส์”
เป็นอาหารฟิลิปปินส์ที่ได้รับความนิยมมากโดยเฉพาะนักเดินทาง หรือนักปีนเขา
เนื่องจากเก็บได้นานโดยไม่ต้องแช่เย็น(อาจเป็นเพราะใช้น้ำส้มสายชูเป็นเครื่องปรุงหลัก
ช่วยยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรีย) อะโดโบมีต้นกำเนิดมาจากภาคเหนือของฟิลิปปินส์
เป็นอาหารที่ปรุงด้วยเนื้อหมูหรือไก่หรือรวมกันเคี่ยวให้สุกอย่างช้า ๆ
ในซอสถั่วเหลือง น้ำส้มสายชู กระเทียมบด ใบกระวาน และพริกไทยดำและมักมีสีน้ำตาลจากการทอดหรืออบในกระทะ
ดอกไม้ประจำชาติ “Sampaguita Jasmine” ในประเทศไทยเรียก “ดอกพุดแก้ว” เป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศฟิลิปปินส์ตั้งแต่ปี
1934 ดอก Sampaguita
มีกลีบดอกรูปดาวสีขาวที่บานตลอดทั้งปี
โดยจะแย้มดอกในตอนกลางคืนและส่งกลิ่นหอมประมาณหนึ่งวัน สำหรับประชาชนชาวฟิลิปปินส์
ดอกไม้ชนิดนี้เป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความเรียบง่าย ความอ่อนน้อมถ่อมตน
และความเข้มแข็ง
เครื่องแต่งกายประจำชาติ ชายสวมเสื้อที่เรียกว่า
บารอง หญิงแต่งชุดกระโปรงยาว สวมเสื้อแขนสั้นจับจีบแล้วยกตั้งขึ้นเหนือไหล่คล้ายปีกผีเสื้อเรียกว่า
ชุดบาลินตาวัก
ความสัมพันธ์กับประเทศไทย ประเทศฟิลิปปินส์เป็นประเทศหนึ่งที่รวมมือกับประเทศไทยในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน
ไทยและฟิลิปปินส์มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดโดยมีการแลกเปลี่ยนและช่วยเหลือซึ่งกันและกันทั้งด้านเศรษฐกิจ
สังคม และการศึกษา
ณัฐกานต์ กิจทิวา ม.4/5 เลขที่ 18
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น