ราชอาณาจักรกัมพูชา
Kingdom of Cambodia
- ที่ตั้ง
ตั้งอยู่กลางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทิศเหนือติดกับประเทศไทย (จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์) และลาว (แขวง อัตตะปือและจำปาสัก)
ทิศตะวันออกติดเวียดนาม (จังหวัดกอนทูม เปลกู ซาลาย ดั๊กลั๊ก ส่องแบ๋ เตยนิน ลองอาน ด่งท๊าบ อันซาง และเกียงซาง)
ทิศตะวันตกติดประเทศไทย (จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด)
ทิศใต้ติดอ่าวไทย
- พื้นที่
181,035 ตารางกิโลเมตร หรือมีขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย เส้นเขตแดนโดยรอบประเทศยาวประมาณ 2,000 กิโลเมตร โดยมีเส้นเขตแดนติดต่อกับประเทศไทยยาว 798 กิโลเมตร
- เมืองหลวง
ราชธานีพนมเปญ
- ประชากร
14.45 ล้านคน (2552) เป็นชาวเขมรแท้มีอยู่ประมาณร้อยละ ๘๕ ของประชากรทั้งหมด มีรูปร่างสูงใหญ่ ผิวดำแดง หน้าผากโหนก ผมหยิกดำ จมูกหนา ริมฝีปากหนา
สำหรับชนกลุ่มน้อยของเขมรมีหลายเผ่าพันธุ์ได้แก่ สะโอจ บัน ซำเร กวยหรือสวย สะเตียงหรือพวกข่า
นอกจากชนกลุ่มน้อยดังกล่าวแล้ว ยังมีชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในกัมพูชาอีกหลายเชื้อชาติได้แก่ ปาทาน จาม ลาว พม่า จีน เวียดนาม และไทย ชาวกัมพูชาเชื้อสายจีนมีอยู่ประมาณร้อยละห้า เชื้อสายเวียดนามประมาณร้อยละเจ็ด เชื้อสายไทย ลาว อินเดีย จาม มาเลเซีย และชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ประมาณร้อยละสาม
- ภาษาราชการ
ภาษาเขมร
- ศาสนา
พุทธเถรวาท (มหานิกาย ร้อยละ 90 และธรรมยุตินิกาย)ภูมิประเทศ
ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ประกอบด้วยที่ราบรอบทะเลสาบเขมร และที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง
มีทิวเขาล้อมรอบทางเหนือ คือ เทือกเขาพนมดงรัก เทือกเขาบรรทัด เทือกเขาอันนัม
กัมพูชา มีลักษณะภูมิประเทศคล้ายชามหรืออ่าง คือ ตรงกลางเป็นแอ่งทะเลสาบและลุ่มแม่น้ำโขงอันกว้างขวาง มีภูเขาล้อมรอบอยู่ 3 ด้าน ได้แก่
-ด้านตะวันออก มีแนวเทือกเขาอันนัมที่เป็นพรมแดนกับประเทศเวียดนาม
-ด้านเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือ มีแนวเทือกเขาพนมดงรักที่เป็นพรมแดนกับประเทศไทย
-ด้านใต้และตะวันตกใต้ มีแนวเทือกเขาบรรทัดที่เป็นแนวพรมแดนกับประเทศไทย
เฉพาะด้านตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้นที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง
- การเมืองการปกครอง
ประมุข พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี
ผู้นำรัฐบาล สมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโชฮุน เซน นายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรีต่างประเทศ นายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศ
- ระบอบการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
- เขตการปกครอง
ตามกฤษฎีกา ลงนามโดย นรม.กพช. เมื่อ 12 ม.ค. 2552 กำหนดให้มีการแบ่งเขตการปกครอง ดังนี้:แบ่งเป็น 1 ราชธานี (พนมเปญ) และ 23 จังหวัด ได้แก่ กระแจะ เกาะกง กันดาล กัมปงจาม กัมปงชนัง กัมปงธม กัมปง สะปือ กัมปอต ตาแก้ว รัตนคีรี พระวิหาร พระตะบอง โพธิสัต บันเตียเมียนเจย ไปรเวง มณฑลคีรี สตึงเตรง สวายเรียง เสียมราฐ อุดรมีชัย ไพลิน แกบ และพระสีหนุ และแต่ละจังหวัดจะมีศูนย์กลางการปกครองเรียกว่า (อำเภอเมือง) เรียกว่า “กรุง” นอกจากนี้ยังมีเมืองสำคัญที่มีฐานะเป็น “กรุง” อีก 3 แห่ง คือ กรุงปอยเปต (จ. บันเตียเมียเจย) กรุงบาเว็ต (จ. สวายเรียง) และกรุงสวง (จ.กำปงจาม)
- วันชาติ 9 พฤศจิกายน 2496
- วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย 19 ธันวาคม 2493
- เศรษฐกิจการค้า
หน่วยเงินตรา เรียล (1 เรียล ประมาณ 0.0083 บาท)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 10.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2552)
รายได้ประชาชาติต่อหัว 635 ดอลลาร์สหรัฐ* (2552)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ -1.5 (2552)
1.เกษตรกรรม อยู่บริเวณที่ราบภาคกลาง รอบทะเลสาบเขมร พืชที่สำคัญคือ ข้าวเจ้า ยางพารา พริกไทย
2.การประมง บริเวณรอบทะเลสาบเขมร เป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญที่สุดในภูมิภาค
3.การทำป่าไม้ บริเวณเขตภูเขาทางภาคเหนือ โดยล่องมาตามแม่น้ำโขง
4.การทำเหมืองแร่ ยังไม่ค่อยสำคัญ
5.อุตสาหกรรม เป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อม ส่วนใหญ่เป็นโรงสีข้าว โรงเลื่อย รองเท้า
สินค้านำเข้าสำคัญ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักร ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องดื่ม ผ้าผืน และผลิตภัณฑ์ยาง
สินค้าส่งออกสำคัญ เสื้อผ้า สิ่งทอ รองเท้า ปลา ไม้ ยางพารา บุหรี่ ข้าว และข้าวโพด
สุตาภัทร อบกลิ่น ม.4/5 เลขที่ 29
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น