มาเลเซีย
ธงประจำชาติ |
มาเลเซีย (Malaysia) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยพื้นที่ 2 ส่วนโดยมีทะเลจีนใต้กั้น ส่วนแรกคือ มาเลเซียตะวันตก อยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมลายูและคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดประเทศไทยทางรัฐกลันตัน เประ ปะลิส และเกดะห์ และติดกับสิงคโปร์ทางรัฐยะโฮร์ ส่วนที่ 2 คือ มาเลเซียตะวันออก อยู่ทางตอนเหนือของเกาะบอร์เนียว มีพรมแดนทิศใต้ติดอินโดนีเซียทางรัฐซาบาห์และซาราวัก และล้อมรอบประเทศบรูไนดารุสซาลามด้วยรัฐซาราวัก มาเลเซียเป็นสมาชิกก่อตั้งของกลุ่มประเทศอาเซียน
การเมืองการปกครอง
มาเลเซียปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ การปกครองเป็นแบบสหพันธรัฐ มีรัฐบาลกลางแห่งสหพันธรัฐ และรัฐบาลของแต่ละรัฐ โดยรัฐบาลกลางตั้งอยู่ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของมาเลเซีย ส่วนรัฐบาลแห่งรัฐตั้งอยู่ในแต่ละรัฐ รวมทั้งสิ้น ๑๓ รัฐ โดยมีประมุขของรัฐเป็นสุลต่านหรือผู้ว่าการรัฐดังนี้
รัฐที่มีสุลต่านเป็นประมุข จำนวน ๙ รัฐ ได้แก่ เปรัค ปาหัง เซลัง-งอร์ เปอร์ลิส เคดาห์ เนกรีเซมบิลัน ยะโฮร์ กลันตัน และตรังกานู
รัฐที่มีผู้ว่าการรัฐเป็นประมุข จำนวน ๔ รัฐ ได้แก่ ปีนัง มะละกา ซาราวัค และ ซาบาห์
นอกจากนี้ยังมีเขตสหพันธรัฐ (Federal Territory) อีก ๒ เขต คือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ และเกาะลาบวน (อยู่ทางมาเลเซียตะวันออกใกล้กับ บรูไน ดารุสซาลาม)
สถาบันกษัตริย์
ประมุขของมาเลเซียภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์ เรียกว่า “สมเด็จพระราชาธิบดี” หรือ “Yang Di-Pertuan Agong” หรือทั่วไปเรียกว่า “อากง” สมเด็จพระราชาธิบดีจะได้รับเลือกจากที่ประชุมของสุลต่านของรัฐทั้ง ๙ รัฐ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนดำรงตำแหน่งคราวละ ๕ ปี เมื่อครบวาระก็จะมีการเลือกใหม่ โดยที่สมเด็จพระราชาธิบดีองค์เดิมไม่มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งในครั้งต่อไป รัฐที่สุลต่านได้รับเลือกเป็นสมเด็จพระราชาธิบดี จะมีการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการขึ้นมาทำหน้าที่ในฐานะสุลต่านแทน เว้นแต่ความเป็นประมุขในทางศาสนาอิสลามในรัฐเท่านั้นที่สมเด็จพระราชาธิบดีจะดำรงสถานภาพไว้เช่นเดิม
สมเด็จพระราชาธิบดี สุลต่าน มีซาน ไซนัล อาบิดีน (พระราชาธิบดีองค์ปัจจุบัน)
สมเด็จพระราชาธิบดี สุลต่าน มีซาน ไซนัล อาบิดีน ทรงมีพระนามเต็มว่า อัล วาติกูร บิลลาห์ ตวนกู มิซาน ไซนัล อาบิดีน อิบนี อัลมาร์ฮุม สุลต่าน มะห์มุด อัล มักตาฟิ บิลลาห์ ชาห์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์มหารายาแห่งรัฐตรังกานู และทรงเป็นพระราชโอรสในสุลต่าน มะห์หมุด อัลมักตาฟี บิลลาห์ ชาห์ พระมหากษัตริย์แห่งตรังกานูองค์ก่อน และพระองค์ทรงเป็นยังดีเปอร์ตวนอากงองค์ที่ 13 ทรงเป็นประมุขแห่งสหพันธรัฐมาเลเซีย ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2549 - 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554
นโยบายภายในประเทศ
ภายหลังได้เอกราชจากอังกฤษ ในปี ๒๕๐๐ นโยบายทางการเมืองของมาเลเซีย ก็ชูธงชาตินิยมมาโดยตลอดโดยพยายามสร้างสัญลักษณ์ประจำชาติในเรื่องต่างๆ ขึ้น นับแต่เพลงชาติ ดอกไม้ประจำชาติ ภาษาประจำชาติ ไปจนถึงรถยนต์แห่งชาติ ทางด้านเศรษฐกิจมาเลเซียเน้นนโยบายการพึ่งตนเอง โดยศึกษาพื้นฐานการพัฒนาจากประเทศในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน ภายใต้นโยบายมองตะวันออก (Look East Policy) สำหรับนโยบายทางด้านสังคมถึงแม้จะมีนโยบายในการสร้างค่านิยมอิสลาม แต่ก็ไม่ได้กระทำอย่างสุดขั้ว เนื่องจากมาเลเซียประกอบขึ้นด้วยคนหลายเชื้อชาติ
นโยบายต่างประเทศ
มาเลเซียดำเนินนโยบายต่างประเทศในเชิงรุกมาโดยตลอด โดยเร่งพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือกับนานาประเทศโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากต้องการเสริมบทบาทนำและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของตนในกลุ่มประเทศเหล่านี้ ตลอดจนเพื่อสร้างอำนาจต่อรองกับประเทศพัฒนาแล้ว
ลักษณะภูมิประเทศ
1. มาเลเซียตะวันตก มีภูเขาทอดยาวทางตอนกลางเกือบตลอด เป็นอุปสรรคต่อการคมนาคม ทำให้มีที่ราบ 2 ด้าน ที่ราบด้านตะวันตกกว้างกว่า เป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ เขตปลูกยางพารา และขุดแร่ดีบุก
2. มาเลเซียตะวันออก ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ที่ราบสูงอยู่ทางตอนใน มีที่ราบย่อม ๆ อยู่ตามชายฝั่งทะเล
ลักษณะภูมิอากาศ
ตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร มีอากาศร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร อยู่ในอิทธิพลของลมมรสุม
เศรษฐกิจ
1. เกษตรกรรม ผลิตยางพาราที่สำคัญของโลก และข้าวเจ้าปลูกมากบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำทั้ง 2 ด้าน
2. การทำเหมืองแร่ แร่ที่สำคัญ ได้แก่ แร่ดีบุกส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลกแร่เหล็ก น้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ
3. การทำป่าไม้ ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง ส่งไม้ออกเป็นอันดับ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย
4. อุตสาหกรรม ได้ชื่อว่าเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ของเอเชีย (NICs)
ประชากร
ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมลายูร้อยละ 50.4 เป็นชาวภูมิบุตร คือบุตรแห่งแผ่นดิน รวมไปถึงชนดั้งเดิมของประเทศอีกส่วนหนึ่ง ได้แก่กลุ่มชนเผ่าในรัฐซาราวัก และรัฐซาบาห์มีอยู่ร้อยละ 11 ซึ่งตามรัฐธรรมนูญของมาเลเซียนั้น ชาวมลายูนั้นคือมุสลิม และอยู่ในกรอบวัฒนธรรมมลายู แต่ชาวภูมิบุตรที่ไม่ใช่ชาวมลายูนั้น มีจำนวนกว่าครึ่งของประชากรในรัฐซาราวัก และร้อยละ 60 ของประชากรรัฐซาบาห์ นอกจากนี้ยังมีชนพื้นเมืองดั้งเดิมของคาบสมุทรมลายูอีกกลุ่มหนึ่ง คือ โอรัง อัสลี
ประชากรกลุ่มใหญ่ที่ไม่ใช่ชาวภูมิบุตรหรือชนดั้งเดิมเป็นพวกที่เข้ามาใหม่ โดยเป็นชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน มีอยู่ร้อยละ 23.7 ซึ่งมีประจายอยู่ทั่วประเทศ มีชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดีย อีกร้อยละ 7.1 ของประชากร ส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวทมิฬ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชาวมาเลเซียเชื้อสายไทย โดยอาศัยอยู่ในรัฐทางตอนเหนือของประเทศ มีคนเชื้อสายชวา และมินังกะเบาในรัฐทางตอนใต้ของคาบสมุทร
ชุมชนลูกครึ่งคริสตัง (โปรตุเกส-มลายู) ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และชุมชนลูกครึ่งอื่นๆอย่าง ฮอลันดา และอังกฤษส่วนมากอาศัยในรัฐมะละกา ส่วนลูกครึ่งเปอรานากัน หรือชาวจีนช่องแคบ (จีน-มลายู) ส่วนมากอาศัยอยู่ในรัฐมะละกา และมีชุมชนอยู่ในรัฐปีนัง
วัฒนธรรม
มีสภาพคล้ายคลึงกับประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นหมู่เกาะอิทธิพลของศาสนาอิสลามได้แพร่เข้ามาในแหลมมลายู ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม 55% นับถือศาสนาพุทธ 25% นับถือศาสนาคริสต์ 13% นับถือศาสนาฮินดู 7% และลัทธิศาสนาพื้นเมือง 4% แต่การหันไปนับถือศาสนาอื่นที่ไม่ใช่อิสลามเป็นปัญหาอย่างมากเนื่องจากทางภาครัฐจะไม่เปลี่ยนข้อมูลทางราชการให้ มาเลเซียบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ และผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะมีสิทธิพิเศษ คือ ได้รับเงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณะสุข การคลอดบุตร งานแต่งงานและงานศพตามนโยบาย "ภูมิบุตร”
โยษิตา ศรีคำยงค์ ม.4/5 เลขที่ 26
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น