สาธารณรัฐอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย (Indonesia)
- ที่ตั้ง
อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยตั้งอยู่บนเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย
และเป็นสะพานเชื่อมระหว่างทวีปเอเชียกับออสเตรเลีย
ทำให้อินโดนีเซียสามารถควบคุมเส้นทางการติดต่อระหว่างมหาสมุทรทั้งสอง
ผ่านช่องแคบที่สำคัญต่างๆ เช่น ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และช่องแคบล็อมบอก
ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางมายังประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก
- พื้นที่ : 1,890,754 ตารางกิโลเมตร
- ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นประเทศหมู่เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อย กว่า 17,508 เกาะ รวมอยู่ในพื้นที่ 4 ส่วน คือ
-หมู่เกาะซุนดาใหญ่ ประกอบด้วย เกาะชวา สุมาตรา บอร์เนียว และสุลาเวสี
- หมู่เกาะซุนดาน้อย ประกอบด้วยเกาะเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเกาะชวา มีเกาะบาหลี ลอมบอก ซุมบาวา ซุมบา ฟอลเรส และติมอร์
- หมู่เกาะมาลุกุ หรือ หมู่เกาะเครื่องเทศ ตั้งอยู่ระหว่างสุลาเวสี กับอิเรียนจายาบนเกาะ นิวกีนี
- อีเรียนจายา อยู่ทางทิศตะวันตกของปาปัวนิวกินี
- หมู่เกาะซุนดาน้อย ประกอบด้วยเกาะเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเกาะชวา มีเกาะบาหลี ลอมบอก ซุมบาวา ซุมบา ฟอลเรส และติมอร์
- หมู่เกาะมาลุกุ หรือ หมู่เกาะเครื่องเทศ ตั้งอยู่ระหว่างสุลาเวสี กับอิเรียนจายาบนเกาะ นิวกีนี
- อีเรียนจายา อยู่ทางทิศตะวันตกของปาปัวนิวกินี
-ลักษณะภูมิอากาศ
มีอากาศร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร
ประกอบด้วย 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (พฤษภาคม-ตุลาคม) และ ฤดูฝน(พฤศจิกายน-เมษายน
-เมืองหลวง
จาการ์ตา (Jakarta)
|
|
อินโดนีเซียมีประชากรประมาณ 234 ล้านคน (พ.ศ. 2549) ประชากรส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ออสโตรนีเชียน และนับถือศาสนาอิสลาม
ประเทศอินโดนีเซีย มีประชากรส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายมาเลย์ประมาณร้อยละ95 ที่เหลือเป็นอินเดีย อาหรับ จีน และชาวยุโรป แต่ถ้าแบ่งตามหลักฐานชาติวงศ์วิทยาแล้ว ถือว่าชาวอินโดนีเซียมีต้นกำเนิดมาจาก 365 เชื้อชาติ รวมเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้สี่กลุ่มด้วยกันคือ
1.เมสเลเนเซียน (Melanesians) เป็นเผ่าพันธุ์ที่ผสมกันระหว่างกลุ่มมองโกลลอยด์ กับวาจาด
2.โปรโตออสโตรเนเซียน (Proto - Autronesians)
3.โพลีเนเซียน (Polynesians)
4.โมโครเนเซียน (Micronesians)
ประชากรที่มีเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ เหล่านี้ อาศัยอยู่ตามเกาะสุมาตรา เกาะชวาตะวันตก เกาะมาดูรา เกาะบาหลี เกาะลอมบก เกาะตีมอร์ เกาะบอร์เนียว เกาะสุลาเวสี เกาะอีเรียนจายา และตามแนวชายแดนด้านตะวันตก
ลักษณะของชาวอินโดนีเซีย จะมีตาคม ผมดำ ผิวสีน้ำตาล กระดูกแก้มกว้าง ตาเล็ก จมูกใหญ่ มีความสูงประมาณ 5-6 ฟุต พอกับความสูงของคนไทยทั่วไป
ประชากรของอินโดนีเซีย มีมากเป็นอันดับห้าของโลก รองลงมาจาก จีน อินเดีย โซเวียตรัสเซีย และสหรัฐอเมริกา ตามลำดับ ประชากรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ ๖๓ จะอยู่ทีเกาะชวา และเกาะมาดูรา
1.เมสเลเนเซียน (Melanesians) เป็นเผ่าพันธุ์ที่ผสมกันระหว่างกลุ่มมองโกลลอยด์ กับวาจาด
2.โปรโตออสโตรเนเซียน (Proto - Autronesians)
3.โพลีเนเซียน (Polynesians)
4.โมโครเนเซียน (Micronesians)
ประชากรที่มีเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ เหล่านี้ อาศัยอยู่ตามเกาะสุมาตรา เกาะชวาตะวันตก เกาะมาดูรา เกาะบาหลี เกาะลอมบก เกาะตีมอร์ เกาะบอร์เนียว เกาะสุลาเวสี เกาะอีเรียนจายา และตามแนวชายแดนด้านตะวันตก
ลักษณะของชาวอินโดนีเซีย จะมีตาคม ผมดำ ผิวสีน้ำตาล กระดูกแก้มกว้าง ตาเล็ก จมูกใหญ่ มีความสูงประมาณ 5-6 ฟุต พอกับความสูงของคนไทยทั่วไป
ประชากรของอินโดนีเซีย มีมากเป็นอันดับห้าของโลก รองลงมาจาก จีน อินเดีย โซเวียตรัสเซีย และสหรัฐอเมริกา ตามลำดับ ประชากรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ ๖๓ จะอยู่ทีเกาะชวา และเกาะมาดูรา
- การแต่งกาย
ผู้ชาย จะนุ่งโสร่ง สวมเสื้อคอปิด แขนยาว สวมหมวกรูปกลม หรือหมวกหนีบ ทำด้วยสักหลาดสีดำ บางครั้งจะนุ่งโสร่งทับกางเกง ประมาณครึ่งตัว โดยปล่อยให้เห็นขากางเกง ในกรณีที่ต้องเข้าพิธี อาจจะมีการเหน็บกริชด้วย ปัจจุบันผู้ชายอินโดนีเซียส่วนใหญ่นิยม แต่งกายแบบสากล แต่ยังคงสวมหมวกแบบเดิม
ผู้หญิง จะใช้ผ้าไคน์ พันรอบตัว และใช้นุ่งอยู่กับบ้านเท่านั้น ผ้าไคน์จะมีลวดลายสวยงามมาก เนื้อดีและราคาแพง ซึ่งเป็นที่นิยมเรียกกันอีกชื่อว่า ผ้าปาติค (Patik) เวลานุ่งจะต้องให้ยาวกรอมเท้า สวมเสื้อ เรียกว่า เคบาจา (Kebaja) เป็นเสื้อที่รัดติดกับตัว แขนยาว สำหรับผู้หญิงชาวเกาะสุมาตรา นิยมสวมเสื้อหลวม ลำตัวยาวเกือบถึงเข่า เรียกว่า บัตยูกรุง และใช้ผ้าห่มพาดไหล่ข้างหนึ่งด้วย ผู้หญิงอินโดนีเซียไว้ผมยาว แล้วเกล้าเป็นมวย และใช้เครื่องประดับ เช่น พลอย หรือดอกไม้ประดับศีรษะ รองเท้าที่ใช้เดิมเป็นรองเท้าแตะ แต่ปัจจุบันเป็นรองเท้ามีส้นและทาสี แกะสลักเป็นรูปต่าง ๆ สายคาดทำด้วยหนังทาสีเงิน หรือสีทอง สตรีที่นับถือศาสนาอิสลามจะใช้ผ้าคลุมศีรษะ แต่ไม่ปิดหน้า ปัจจุบันนิยมแต่งกายแบบตะวันตกมากขึ้น การแต่งกายแบบดังกล่าว จะใช้ในโอกาสพิธีสำคัญ ๆ เท่านั้น
เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม การแต่งกายจึงโน้มน้าวไปตามประเพณีของศาสนา
ผู้หญิง จะใช้ผ้าไคน์ พันรอบตัว และใช้นุ่งอยู่กับบ้านเท่านั้น ผ้าไคน์จะมีลวดลายสวยงามมาก เนื้อดีและราคาแพง ซึ่งเป็นที่นิยมเรียกกันอีกชื่อว่า ผ้าปาติค (Patik) เวลานุ่งจะต้องให้ยาวกรอมเท้า สวมเสื้อ เรียกว่า เคบาจา (Kebaja) เป็นเสื้อที่รัดติดกับตัว แขนยาว สำหรับผู้หญิงชาวเกาะสุมาตรา นิยมสวมเสื้อหลวม ลำตัวยาวเกือบถึงเข่า เรียกว่า บัตยูกรุง และใช้ผ้าห่มพาดไหล่ข้างหนึ่งด้วย ผู้หญิงอินโดนีเซียไว้ผมยาว แล้วเกล้าเป็นมวย และใช้เครื่องประดับ เช่น พลอย หรือดอกไม้ประดับศีรษะ รองเท้าที่ใช้เดิมเป็นรองเท้าแตะ แต่ปัจจุบันเป็นรองเท้ามีส้นและทาสี แกะสลักเป็นรูปต่าง ๆ สายคาดทำด้วยหนังทาสีเงิน หรือสีทอง สตรีที่นับถือศาสนาอิสลามจะใช้ผ้าคลุมศีรษะ แต่ไม่ปิดหน้า ปัจจุบันนิยมแต่งกายแบบตะวันตกมากขึ้น การแต่งกายแบบดังกล่าว จะใช้ในโอกาสพิธีสำคัญ ๆ เท่านั้น
- ศิลปะและวรรณคดี
ชาวอินเดียเป็นผู้รักศิลปะและวรรณคดีมาช้านานแล้ว สังเกตได้จากลวดลายของเครื่องแต่งกาย บ้านที่พักอาศัย ศาสนสถาน และนาฎศิลป์ต่าง ๆ ศิลปในประเทศอินโดนีเซีย มิได้ยึดถือตามที่สืบทอดกันมาแต่ในอดีตเท่านั้น แต่มีหลายสิ่งหลายอย่างได้พัฒนาเปลี่ยนไปตามแต่ละยุค แต่ละสมัย ที่มีอิทธิพลต่อประเทศอินโดนีเซีย ในขณะนั้น
- สถาปัตยกรรม
มีลักษณะแตกต่างกันไปตามสภาพของภูมิประเทศและอิทธิพลของศาสนา แต่ส่วนใหญ่คล้ายคลึงกับประเทศต่าง ๆ แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาคารบ้านเรือนของประชาชนโดยทั่ว ๆ ไปจะใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นเป็นอุปกรณ์ในการก่อสร้าง ส่วนเทวสถานบางแห่ง เช่น สถูปโบโรพุทโธ ซึ่งมีชื่อเสียงมากได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมของศาสนาฮินดู
- การเมืองการปกครอง
ปกครองแบบประชาธิปไตย ที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร
- ภาษา
ภาษาราชการและภาษาประจำชาติ ได้แก่ ภาษาอินโดนีเซีย หรือ Bahasa Indonesia
- การเมืองการปกครอง
ปกครองแบบประชาธิปไตย ที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร
ประธานาธิบดี คือ ดร.ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน (Susilo Bambang Yudhoyono) (ตุลาคม 2547)
- ภาษา
ภาษาราชการและภาษาประจำชาติ ได้แก่ ภาษาอินโดนีเซีย หรือ Bahasa Indonesia
-ศาสนา ชาวอินโดนีเซียร้อยละ 87 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 6 นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ ร้อยละ 3.5 นับถือศาสนาคริสต์นิกายแคทอลิก ร้อยละ 1.8 นับถือศาสนาฮินดู และร้อยละ 1.3 นับถือ ศาสนาพุทธ |
-เศรษฐกิจ เศรษฐกิจของอินโดนีเซีย เป็นเศรษฐกิจที่พึ่งพาการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ อุตสาหกรรมน้ำมันเป็นแหล่งสำคัญที่สุดในการทำรายได้ให้อินโดนีเซีย นับแต่ยุคหลังได้รับเอกราชตลอดมา ซึ่งรัฐบาลอินโดนีเซียได้นำรายได้มาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการขนส่งและการคมนาคมสร้างฐานอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนสูง มุ่งหวังสร้างความแข็งแกร่งให้กับการอุตสาหกรรมของประเทศ ดังนั้น เมื่อเกิดวิกฤตน้ำมันในตลาดโลกในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2523 – 2527 ซึ่งราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของอินโดนีเซีย รัฐบาลจึงหันมาส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อการผลิต เพื่อลดการพึ่งพา รายได้จากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ แร่โลหะที่มีค่า สินค้าอุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งพัฒนาภาคเกษตรกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิต ทำให้อินโดนีเซียมีข้าวเพียงพอสำหรับเลี้ยงตนเองได้โดยไม่ต้องนำเข้าอีกต่อไป ยกเว้นบางปีที่ผลผลิตข้าวไม่ดี ขณะเดียวกันรายได้จากการ ส่งออกสินค้าอื่น ๆ ที่ไม่ใช่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติก็เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะสินค้า อุตสาหกรรมได้กลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญในปัจจุบัน โดยคิดเป็นร้อยละ 75 ของสินค้าออก ทั้งหมด |
รูเปียห์ (Rupiah : IDR) อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ (ซื้อ) 2.87 บาท / 1,000 รูเปียห์ (ขาย) 3.32 บาท / 1,000 รูเปียห์ (มกราคม 2552)
-ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
ประเทศไทยและอินโดนีเซียมีความสัมพันธ์ทางการทูตที่ดีต่อกันมาโดยตลอด และให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อินโดนิเซียเป็นสมาชิกสมาคมอาเซียนเหมือนประเทศไทย และมีสำนักงานใหญ่ขององค์การอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ต
ศุพัชชา ตั้งวงศ์วราชัย ม.4/5 เลขที่ 28
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น