ไทย
ที่ตั้งอาณาเขต
ที่ตั้งของประเทศไทย ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอินโดจีน อยู่ในทวีปเอเซียในดินแดนที่เรียกว่า "ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้"
ทิศเหนือ อยู่ที่ละติจูด 20 องศา 27 ลิบดาเหนือ
ทิศใต้ อยู่ที่ละติจูด 5 องศา 37 ลิบดาเหนือ
ทิศตะวันออก อยู่ที่ละติจูด 105 องศา 37 ลิบดาตะวันออก
ทิศตะวันตก อยู่ที่ละติจูด 97 องศา 22 ลิบตาตะวันออก
พื้นที่
ขนาด ประเทศไทยมีเนื้อที่ประมาณ 513,115.06 ตารางกิโลเมตร (198,454 ตารางไมล์) มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ รองจากอินโดนีเซียและพม่า ส่วนที่กว้างที่สุดของไทย มีความยาวประมาณ 750 กิโลเมตร คือ จากด่านเจดีย์สามองค์ อำเภอสังขละบุรีจังหวัดกาญจนบุรี ถึงช่องเม็ก อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี สำหรับส่วนที่แคบที่สุดมีความกว้างประมาณ 10.6 กิโลเมตร อยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และความยาวจากเหนือสุดจากอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ถึงอำเภอเบตง จังหวัดยะลา มีความยาวประมาณ 1,640 กิโลเมตร
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศของไทย แบ่งออกได้เป็น 6 ภาค
1. ภาคเหนือ พื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเทือกเขาสูงสลับกับที่ราบหุบเขา ที่สำคัญคือ ภูเขา แดนลาว ภูเขาหลวงพระบาง ภูเขาถนนธงชัย ภูเขาเพชรบูรณ์ ภูเขาขุนตาล ภูเขาผีปันน้ำ เป็นที่เกิดของแม่น้ำลำธารหลายสาย เช่น แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน แม่น้ำป่าสัก เป็นที่ตั้งของเมืองสำคัญ เช่น เชียงใหม่ ลำปาง เชียงราย เป็นต้น แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ไหนลงสู่ภาคกลางมารวมกันที่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นจุดเริ่มต้นของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นแม่น้ำที่สำคัญที่สุดเปรียบเสมือน "เส้นเลือดใหญ่" ของประเทศ
2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นบริเวณที่มีพื้นที่กว้างขวางมาก มีพื้นที่ถึง 170,000 ตร.กม. หรือประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งประเทศ พื้นที่ทางด้านตะวันตกเป็นเทือกเขาเพชรบูรณ์ ทอดเชื่อมกับเทือกเขาดงพญาเย็น ทำให้เกิด "ภู" น้อยใหญ่ เช่น ภูกระดึง ภูหลวง ภูเขียว ภูเรือ ทางทิศใต้มีเทือกเขาสันกำแพงและเทือกเขาพนมดงรัก เป็นที่เกิดของแม่น้ำ ลำธารสำคัญของภาคอีสานหลายสาย ได้แก่ แม่น้ำมูล แม่น้ำชี ลำตะคอง ลำพระเพลิง ลำโดมน้อย ลำโดมใหญ่ เป็นต้น พื้นที่ตอนกลางของภาคมีลักษณะคล้ายเกาะมีที่ราบกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ลักษณะดินเป็นดินปนทราย ไม่อุ้มน้ำ น้ำซึมผ่านได้รวดเร็ว ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือแห้งแล้งมากในฤดูแล้ง
3. ภาคกลาง เป็นที่ราบลุ่มที่เกิดจากการทับถมของดินตะกอน ซึ่งแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำสาขาต่าง ๆ พัดพามา ดินจึงมีความอุดมสมบูรณ์สูง มีการปลูกข้าวมากที่สุดของประเทศ เรียกได้ว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของไทย และเป็นเขตที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นมากที่สุด
4. ภาคตะวันออก ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและเนินเขาลดลงสู่ที่ราบชายฝั่งทะเล มีแม่น้ำสายสั้น ๆ ซึ่งเกิดจากเทือกเขาจันทบุรีและเทือกเขาบรรทัด ไหลลงสู่อ่าวไทย
5. ภาคตะวันตก มีลักษณะเป็นเทือกเขาและหุบเขา แต่มีความสูงไม่มากนัก เทือกเขาที่สำคัญ ได้แก่ เทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาถนนธงชัย ที่ราบหุบเขาที่สำคัญในภาคนี้ คือ ที่ราบลุ่มแม่น้ำแม่กลอง ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำใหญ่ 2 สาย คือ แควน้อยและแควใหญ่ ไหลลงสู่อ่าวไทยที่จังหวัดสมุทรสงคราม
6. ภาคใต้ มีลัษณะเป็นมหาสมุทรแคบ ๆ ตั้งอยู่ระหว่างอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ตอนกลางของคาบสมุทรมีเทือกเขาติดต่อกันเป็นแนวยาวไปจนจรดพรมแดนมาเลเซีย ได้แก่ เทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขานครศรีธรรมราช เทือกเขาสันกาลาคีรี เทือกเขาภูเก็ต ทำให้แบ่งพื้นที่ของภาคใต้ออกเป็น 2 ส่วน คือ ที่ราบชายฝั่งทะเลตะวันตก
และที่ราบชายฝั่งทะเลตะวันออก แม่น้ำในภูมิภาคนี้เป็นแม่น้ำสายสั้น ๆ หลายสายที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำปราณบุรี แม่น้ำกระบี่ แม่น้ำหลังสวน แม่น้ำตรัง และแม่น้ำโกลก
ลักษณะภูมิอากาศ
ประเทศไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลของมรสุมสองชนิด คือ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
1. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดปกคลุมประเทศไทยระหว่างกลางเดีอนพฤษภาคมถึง กลางเดือนตุลาคม
โดยมีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกใต้ บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งพัดออกจากศูนย์กลางเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้ และเปลี่ยนเป็น ลมตะวันตกเฉียงใต้เมื่อพัดข้ามเส้นศูนย์สูตร มรสุมนี้จะนำมวลอากาศชื้นจากมหาสมุทรอินเดีย มาสู่ประเทศไทย ทำให้มีเมฆมากและฝนตกชุกทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามบริเวณชายฝั่งทะเล และเทือกเขาด้านรับลมจะมีฝนมากกว่าบริเวณอื่น
2. มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
หลังจากหมดอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้แล้ว ประมาณกลางเดือนตุลาคมจะมีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทยจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ มรสุมนี้มีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกเหนือแถบประเทศมองโกเลียและจีน จึงพัดพาเอามวลอากาศเย็นและแห้งจากแหล่งกำเนิดเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ทำให้ท้องฟ้าโปร่ง อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้งทั่วไป โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้จะมีฝนชุกโดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก เนื่องจากมรสุมนี้นำความชุ่มชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุม
ฤดูกาล
ประเทศไทยโดยทั่ว ๆ ไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู ดังนี้
- ฤดูร้อน ระหว่างกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม
- ฤดูฝนระหว่างกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม
- ฤดูหนาว ระหว่างกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์
เมืองหลวง
กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวง พื้นที่เมืองขนาดใหญ่ที่สุดและเป็นเมืองหลักที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญก้าวหน้าด้านอื่น ๆ ของประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลกอีกด้วย มีแม่น้ำสำคัญคือ แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน ทำให้แบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี โดยกรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตารางกิโลเมตรกรุงเทพมหานครเป็นเขตปกครองพิเศษของประเทศไทย โดยมิได้มีสถานะเป็นจังหวัด ซึ่งคำว่า กรุงเทพมหานคร นั้น ยังใช้เป็นคำเรียกสำนักงานปกครองส่วนท้องถิ่นของกรุงเทพมหานครอีกด้วย ปัจจุบันกรุงเทพมหานครใช้วิธีการเลือกตั้งผู้บริหารแบบการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง
ใน พ.ศ. 2552 กรุงเทพมหานครเป็นเมืองค่าครองชีพสูงสุดอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากสิงคโปร์กรุงเทพมหานครมีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น พระบรมมหาราชวัง พระที่นั่งวิมานเมฆและวัดต่าง ๆ ซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศประมาณ 11 ล้านคนในแต่ละปี นับเป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศมากที่สุดรองจากปารีสและลอนดอน
ประชากร
จำนวนประชากรประเทศไทย 64.7 ล้านคน (2551) ตามการประมาณของ CIA The World Factbook เมื่อปี พ.ศ. 2553 ประชากรทั้งหมดของประเทศไทยมีประมาณ 66,404,688 คน ประกอบด้วยไทยสยามประมาณร้อยละ 75 ไทยเชื้อสายจีนร้อยละ 14 ไทยเชื้อสายมลายูร้อยละ 3 ประเทศไทยประสบปัญหาอัตราการเกิดต่ำกว่ามาตรฐาน โดยที่ในปี พ.ศ. 2551 อัตราการเกิดของประชากรอยู่ที่ 1.5% และมีแนวโน้มที่จะลดลงเหลือเพียง 1.45% ในปี พ.ศ. 2568 ซึ่งมีสาเหตุมาจากอัตราการคุมกำเนิดที่เพิ่มสูงขึ้น โดยคิดเป็น 81% ในปี พ.ศ. 2551 ซึ่งเมื่อประกอบกับอัตราการตายที่ลดลงในศตวรรษที่ผ่านมา ทำให้ประเทศไทยจะมีประชากรสูงวัยมากขึ้นในอนาคต
ในประเทศไทยถือได้ว่ามีความหลากหลายทางเชื้อชาติ โดยมีทั้ง ชาวไทย ชาวไทยเชื้อสายลาว ชาวไทยเชื้อสายมอญ ชาวไทยเชื้อสายเขมร รวมไปถึงกลุ่มชาวไทยเชื้อสายจีน ชาวไทยเชื้อสายมลายู ชาวชวา (แขกแพ) ชาวจาม (แขกจาม) ชาวเวียด ชาวพม่า และชาวไทยภูเขาเผ่าต่าง ๆ เช่น ชาวกะเหรี่ยง ลีซอ ชาวม้ง ส่วย เป็นต้น ในปี พ.ศ. 2553 ตามข้อมูลของสภาความมั่นคงแห่งชาติ ประเทศไทยมีแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายอยู่ 1.4 ล้านคน โดยมีอีกเท่าตัวที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน ตามข้อมูลการอพยพระหว่างประเทศของสหประชาชาติ ระบุว่า ในปี พ.ศ. 2548 ประเทศไทยมีผู้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่จำนวน 1.05 ล้านคน คิดเป็น 1.6% ของจำนวนประชากร
ประเทศไทยมีการแบ่งแยกเชื้อชาติและชาติพันธุ์น้อยกว่าเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านมาก โดยสนับสนุนความเป็นอิสระในแต่ละเชื้อชาติ ได้มีนักวิชาการตะวันตกเขียนเอาไว้ว่า ประเทศไทยเป็น "สังคมที่มีโครงสร้างอย่างหลวม ๆ
การเมืองการปกครอง : ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
* พระมหากษัตริย์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร (His Majesty King Bhumibol Adulyadej) * นายกรัฐมนตรี คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (Mr.Abhisit Vejjajiva) (17 ธันวาคม พ.ศ.2551)
ศาสนา
ประมาณร้อยละ 95 ของประชากรไทยนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติโดยพฤตินัย แม้ว่ายังจะไม่มีการบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยก็ตาม ศาสนาอิสลามประมาณร้อยละ 4 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวไทยทางภาคใต้ตอนล่าง ศาสนาคริสต์และศาสนาอื่นประมาณร้อยละ 1
ภาษา
ประเทศไทยมีภาษาไทยเป็นภาษาทางการ และเป็นภาษาหลักที่ใช้ติดต่อสื่อสาร การศึกษาและเป็นภาษาพูดที่ใช้กันทั่วประเทศ โดยใช้อักษรไทยเป็นรูปแบบมาตรฐานในการเขียน ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นอย่างเป็นทางการในสมัยสุโขทัยโดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช นอกเหนือจากภาษาไทยกลางแล้ว ภาษาไทยสำเนียงอื่นยังมีการใช้งานในแต่ละภูมิภาคเช่น ภาษาไทยถิ่นเหนือในภาคเหนือ ภาษาไทยถิ่นใต้ในภาคใต้ และภาษาไทยถิ่นอีสานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นอกเหนือจากภาษาไทยแล้ว ในประเทศไทยยังมีการใช้งานภาษาของชนกลุ่มน้อยเช่น ภาษาจีนโดยเฉพาะสำเนียงแต้จิ๋ว ภาษาลาวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งบางครั้งนิยามว่าภาษาลาวสำเนียงไทย ภาษามลายูปัตตานีทางภาคใต้ นอกจากนี้ก็มีภาษาอื่นเช่น ภาษากวย ภาษากะยาตะวันออก ภาษาพวน ภาษาไทลื้อ ภาษาไทใหญ่ รวมไปถึงภาษาที่ใช้กันในชนเผ่าภูเขา ประกอบด้วยตระกูลภาษามอญ-เขมร เช่น ภาษามอญ ภาษาเขมร ภาษาเวียดนาม และภาษามลาบรี; ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน เช่น ภาษาจาม; ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต เช่น ภาษาม้ง ภาษากะเหรี่ยง และภาษาไตอื่น ๆ เช่น ภาษาผู้ไท ภาษาแสก เป็นต้น
ภาษาอังกฤษและอักษรอังกฤษมีสอนในระดับโรงเรียนและมหาวิทยาลัย แต่จำนวนผู้ที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้คล่องในประเทศไทยยังคงมีจำนวนน้อยอยู่ และส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตเมืองและในครอบครัวที่มีการศึกษาดีเท่านั้น ซึ่งในด้านความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษนั้น จากที่ประเทศไทยเคยอยู่ในระดับแนวหน้าในปี พ.ศ. 2540 แต่เมื่อกลางปี พ.ศ. 2549 ไทยกลับล้าหลังประเทศลาวและประเทศเวียดนาม
เศรษฐกิจ
1. ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำ อันเนื่องมาจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ
- คนไทยใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
- ค่าเงินบาทแข็งเกินไป
- ความสามารถในการแข่งกับตลาดต่างประเทศต่ำลง
2. เสถียรภาพทางเศรษฐกิจต่ำ
3. ยังคงมีปัญหาเรื่องความยากจนและการกระจายรายได้
4. คุณภาพชีวิตประชากร
- อัตราการเพิ่มประชากรลดลง ทำให้โครงสร้างประชากรเปลี่ยนไป (วัยเด็กลดลงวัยอื่นๆเพิ่มขึ้น)
- อายุขัยประชากรเพิ่มขึ้น
- อัตราการตายของทารกแรกเกิดน้อยลง
- อัตราทุกโภชนาการน้อยลงรวดเร็วมาก
5. การศึกษาพัฒนาไปเร็ว
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในอนาคต
แนวโน้มเศรษฐกิจโลก
1. ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีบรรยากาศที่เหมาะแก่การลงทุน อันเนื่องมาจาก
- ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์
- ค่าแรงที่ถูก
- ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจเอื้ออำนวย
- การหมดอายุเช่าของฮ่องกง(ปีพ.ศ. 2540) และความไม่แน่นอนของบรรยากาศทางการเมืองในไต้หวัน
2. ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ของเอเชียต้องปรับปรุงการผลิตและต้องการลดต้นทุนจึงหันมาลงทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น
3. การรวมกลุ่มของ EU ทำให้
- ประเทศในกลุ่มมีรายได้มากขึ้น และมีแนวโน้มจะสั่งสินค้าจากประเทศอื่นๆ
มากขึ้นในระยะยาว
- โลกส่วนอื่นรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจกันมากชึ้น
- มีการต่อรองระหว่างกลุ่มประเทศต่างๆ
4. ประเทศกลุ่มสังคมนิยมผ่อนคลายกฎเกณฑ์ลง เช่น จีน รัสเซีย
5. ปริมาณเงินทุนและความช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาลดลง
6. อัตราราคาสินค้าเกษตรกรรมมีแนวโน้มลดลง ขณะที่ราคาสินค้าอุตสาหกรรมมีแนวโน้มว่าอัตราจะเพิ่มขึ้น
แนวโน้มเศรษฐกิจไทย
ยังไม่ดีขึ้น เงินยังฝืด ว่างงานสูง
อุปสรรคในการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย
1. การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ
2. ความขัดแย้งทางการเมือง
3. ระบบราชการขาดประสิทธิภาพ
4. สาธารณูปโภคพื้นฐานขาดแคลน เช่น ท่าเรือ, น้ำเพื่ออุตสาหกรรม
5. ขาดแคลนแรงงานบางสาขา โดยเฉพาะสาขาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม
ภาวะการเกษตรของไทย
โครงสร้างการผลิตภาคเกษตรกรรม
1. ภาคเกษตรกรรมมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ คือ
1.1 พืชเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง อ้อย และข้าวโพด ผักและผลไม้ ปศุสัตว์
1.2 ปัจจุบัน ผลผลิตทางการเกษตรของไทยมีความหลากหลายและกระจายประเภทมากขึ้น
2. บทบาทของภาคเกษตรกรรมไทยในปัจจุบัน
2.1 สถิติเกี่ยวกับภาวะเกษตรของไทย
- ผลผลิตภาคเกษตรของไทยเพิ่มขึ้น
- อัตราการเพิ่มผลผลิตการเกษตรในผลิตภัณฑ์ประชาชาติลดลง
- แรงงานภาคเกษตรปัจจุบันลดลง
- รายได้ส่วนใหญ่ของครัวเรือนเกษตรกรมาจากนอกภาคเกษตร
2.2 บทบาทของภาคเกษตรกรรมไทยมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกันกับภาคอุตสาหกรรมและบริการ เนื่องมาจาก
- ความต้องการและราคาสินค้าเกษตรกรรมมีแนวโน้มลดลง
- รัฐให้การสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมมากกว่าภาคเกษตรกรรม
- มีข้อจำกัดทางด้านทุนและที่ดิน
ภาวะอุตสาหรรมของไทย
1. ความเป็นมาของนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทย
1.1 สมัยจอมพลสฤษฎ์ ธนะรัชต์ รัฐบาลไทยเริ่มให้บทบาทเอกชนในการพัฒนาอุตสาหกรรม และได้จัดแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรกขึ้น เพื่อสร้างปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจไว้รองรับ การลงทุนจากต่างชาติ
1.2 ระยะแรกอุตสาหกรรมไทยเป็นแบบทดแทนการนำเข้า ต่อมารัฐบาลไทยหันมาส่งเสริม อุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก ใน พ.ศ.2515
1.3 ปัจจุบัน มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไทยได้เพิ่มขึ้น
1.4 โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมในไทยที่สำคัญ คือ โครงการพัฒนาชายฝั่งตะวันออก(ท่าเรือ แหลมฉบังและบริเวณมาบตาพุด) และโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้
2. โครงสร้างการผลิตภาคอุตสาหกรรม
2.1 ลักษณะสำคัญของอุตสาหกรรมไทยในปัจจุบัน คือ
1. ยังใช้แรงงานเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิต
2. ยังขาดอุตสาหกรรมหลัก
3. อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ยังคงกระจุกตัวบริเวณ กทม. และปริมณฑล
4.สัดส่วนรายได้ของภาคอุตสาหกรรมเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมส่งออก
5.อุตสาหกรรมส่งออกของไทยที่สำคัญคือ computer
6.ภาคอุตสาหกรรมบริการที่เจริญเติบโตรวดเร์วที่สุด คือ การท่องเที่ยว
3. ปัญหาด้านอุตสาหกรรมของไทย
3.1 มาตรฐานสินค้า
3.2 บริการพื้นฐานทางเศรษฐกิจไม่เพียงพอ
3.3 การกระจุกตัวของโรงงานอุตสาหกรรมบริเวณ กทม. และปริมณฑล
สกุลเงิน : บาท (Baht : THB)
ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน
1. ความสัมพันธ์ทางสังคม เป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์ เช่น การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การศึกษา การศาสนา การท่องเที่ยว กิจกรรมที่ได้ดำเนินการ เช่น การแลกเปลี่ยนทุนการศึกษา การแสดงนาฏศิลป์ของแต่ละประเทศไปเผยแพร่ตามประเทศอื่น
2. ความสัมพันธ์ทางการเมือง เป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ระหว่างประเทศเช่น การทูต การทหาร การแทรกแซงทางการเมือง การกำหนดนโยบายระหว่างประเทศ
3. ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ เป็นความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับการ “แลกเปลี่ยน” ทรัพยากร หรือ บริการ เช่นการซื้อขาย การกู้ยืม ประเทศไทยมีความต้องการด้านอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีใหม่ ในขณะเดียวกัน ประเทศทางยุโรปต้องการวัตถุดิบและน้ำมันจากตะวันออกกลาง ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ รวมถึงการตั้งกฎเกณฑ์ในเรื่องภาษีศุลกากร รวมทั้งการปิดล้อมทางเศรษฐกิจ
4. ความสัมพันธ์ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เป็นความสัมพันธ์ที่มีวัตถุประสงค์ในการแลกเปลี่ยนพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีในการใช้ประโยชน์ร่วมกันในการแก้ปัญหาของชาวโลก เช่น การส่งเสริมค้นคว้า ทดลองด้านวิทยาศาสตร์ในการป้องกันโรคมะเร็ง หรือการประชุมสัมมนาด้านวิทยาศาสตร์ ระหว่างประเทศ
5. ความสัมพันธ์ทางกฎหมาย เมื่อความสัมพันธ์ระหว่างพรมแดนมากขึ้น ปัญหาหรือการกำหนดสิ่งที่ปฏิบัติ
ร่วมกันต้องเกิดขึ้น เช่น เกิดสัญญา กติกา หรือข้อตกลงเกี่ยวกับน่านน้ำสากลระหว่างไทยกับเวียดนาม
ปาจรี ถวัลย์ภิยโย ม.4/5 เลขที่ 3