วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

การ์ตูนน่ารักๆที่ทำให้รู้เรื่องอาเซียนมากขึ้น


ตอนที่1



ตอนที่2



ตอนที่3



ตอนที่4




ตอนที่5

ศศิคุณ กาญจนพิบูลย์ ม.4/5 เลขที่ 27

บรรณนุกรม

บรรณนุกรม
- 
-
- 
- 
- 
-
-
- 
-
- 
- 
- 
- 
-

มารู้จักอาเซียนกันเถอะ



            อาเซียนคืออะไร

     
            "อาเซียน"(ASEN) หรือที่มีชื่อเรียกเต็มๆว่า "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ " (Association of South East Asian Nations) คือ องค์กรทางภูมิรัฐศาสตร์และองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประกอบไปด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย (2510) สิงคโปร์ (2510) อินโดเนเซีย (2510) มาเลเซีย (2510) ฟิลิปปินส์ (2510) บรูไน (2527) เวียตนาม (2538)  ลาว (2540) พม่า (2540)  กัมพูชา (2542)

     

            จุดเริ่มต้นของอาเซียน

            อาเซียนมีจุดเริ่มต้นมาจากสมาคมอาสา(Association of South East Asia2558)ก่อน ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ แต่ก็มีระยะเวลาเพียง 2ปีเท่านั้นแล้วก็ถูกยกเลิกไป เนื่องมาจากความผันแปรทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซีย กับประเทศมาเลเซีย

            ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 ได้มีการลงนามใน "ปฏิญญากรุงเทพ" อาเซียนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยมีรัฐสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย  มาเลเซีย ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์ และไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม วัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก การธำรงรักษาสันติภาพ และความมั่นคงในภูมิภาค และเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ หลังจาก พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา อาเซียนมีรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นจนมี 10 ประเทศในปัจจุบัน กฎบัตรอาเซียนได้มีการลงนามเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งทำให้อาเซียนมีสถานะคล้ายกับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้น เขตการค้าเสรีอาเซียนได้เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2553 และกำลังก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะประกอบด้วยสามด้าน คือ ประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558
 
             ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ประกอบด้วยความร่วมมือ 3 เสาหลัก คือ
       
             1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน(ASEAN Political and Security Community – APSC)
                      มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และสามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้งโดยสันติวิธี อาเซียนจึงได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community Blueprint) โดยเน้นใน 3 ประการ คือ
                     1) การมีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน ครอบคลุมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะร่วมกันทำเพื่อสร้างความเข้าใจในระบบสังคม วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่แตกต่างของประเทศสมาชิก ส่งเสริมพัฒนาการทางการเมืองไปในทิศทางเดียวกัน เช่น หลักการประชาธิปไตย การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การต่อต้านการทจริต การส่งเสริมหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล เป็นต้น
                     2) ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับประชาชนที่ครอบคลุมในทุกด้าน ครอบคลุมความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในรูปแบบเดิม มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการระงับข้อพิพาท โดยสันติเพื่อป้องกันสงครามและให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่ด้วยกันโดยสงบสุขและไม่มีความหวาดระแวง และขยายความร่วมมือเพื่อต่อต้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติต่าง ๆ เช่น ยาเสพติด การค้ามนุษย์ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและจัดการภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ
                    3) การมีพลวัตและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก เพื่อเสริมสร้างบทบาทของอาเซียนในความร่วมมือระดับภูมิภาคเช่น กรอบอาเซียน+3 กับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ตลอดจนความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับมิตรประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ
                2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN Political-Security Community-AEC)
                        มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน  เงินทุน  และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี อาเซียนได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint) ซึ่งเป็นแผนงานบูรณาการการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้าน คือ
                        1) การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base) โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น
                        2) การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับประเด็นนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และพลังงาน)
                        3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ให้มีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่าง ๆ
                        4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาค เพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน
               3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน(ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC)
                        อาเซียนได้ตั้งเป้าเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี 2558 โดยมุ่งหวังเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อ   ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน(ASEAN Identity)เพื่อรองรับการเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน โดยได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint)ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่
                       1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
                       2) การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม
                       3) สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม
                       4) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
                       5) การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน
                       6) การลดช่องว่างทางการพัฒนา
                       ทั้งนี้โดยมีกลไกการดำเนินงาน ได้แก่ การประชุมรายสาขาระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับรัฐมนตรีและคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

ประชาคมอาเซียน 2558 ผลกระทบมีดังนี้
1.การศึกษาในภาพใหญ่ของโลก มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ต้องไม่ให้การเปลี่ยนแปลงนี้มากระชากลากเราไปอย่างทุลักทุเล เราต้องเตรียมความพร้อมทันที ตลอดเวลา โดยเฉพาะบุคลากรต้องตามให้ทันและยืดหยุ่นปรับตัวให้รับสถานะการณ์ได้
2.ภาษาอังกฤษจะเป็นภาษากลางของ ASEAN บุคลากรและนักศึกษา ต้องเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ ให้สามารถสื่อสารได้
3.ปรับปรุงความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ เพื่อลดข้อขัดแย้งในภูมิภาคอาเซียน (Conflict Management) จึงต้องคำนึงถึงการสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง ASEAN ให้มากขึ้น
4.สร้างบัณฑิตให้สามารถแข่งขันได้ใน ASEAN เพิ่มโอกาสในการทำงาน ไม่เช่นนั้น จะถูกแย่งงานเพราะเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน/บริการอย่างเสรี คณะกรรมการวิชาชีพ สภาวิชาชีพ ต้องเตรียมการรองรับผลกระทบนี้อย่างเร่งด่วน
5.โอกาสในการเป็น Education Hub โดยอาศัยความได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์ของประเทศไทย แต่ต้องเน้นในเรื่องของคุณภาพการศึกษาเป็นตัวนำ
6.เราต้องการเครื่องมือในการ Transform คน การเรียนแบบ PBL หรือ Project Based Learning น่าจะได้มีการวิจัยอย่างจริงจังและนำมาปรับใช้  ห้องเรียนไม่ใช่แค่ห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆอีกต่อไป ต้องเพิ่มการเรียนจากชีวิตจริง ลงมือทำเป็นทีม อยู่คนละประเทศก็ทำร่วมกันได้ด้วยไม่มีข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ประเด็นนี้ อาจารย์จะสอนได้ยากขึ้น แต่เป็นผู้ที่ช่วยให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้ แสดงว่า อาจารย์ต้องมีความพร้อมมากกว่าเดิมและเก่งจริงๆMRAs
การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 เมื่อ 7 ตุลาคม 2546 ที่บาหลี อินโดนีเซีย ได้กำหนดจัดทำข้อตกลงร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements : MRAs)เกี่ยวกับคุณสมบัติของวิชาชีพหลัก แรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี โดยจะเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2558 ในเบื้องต้น ได้ทำข้อตกลงร่วมกันแล้ว 7 สาขา คือ
1.วิศวกรรม (Engineering Services)
2.พยาบาล (Nursing Services)
3.สถาปัตยกรรม (Architectural Services)
4.การสำรวจ (Surveying Qualifications)
5.แพทย์ (Medical Practitioners)
6.ทันตแพทย์ (Dental Practitioners)
7.บัญชี (Accountancy Services)

ประเทศพม่า


สหภาพพม่า
         ประเทศพม่า หรือ ประเทศเมียนมาร์ ชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหภาพพม่า เป็นประเทศใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่เดิมชาวตะวันตกเรียกประเทศนี้ว่า พม่า (Burma) ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. 2532 พม่าได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น พม่า (Myanmar) แต่พม่าเรียกชื่อเขาเองว่า มยะหม่า
 ที่ตั้งอาณาเขต  
          สหภาพมีพรมแดนติดต่อกับ 5 ประเทศ ดังนี้
               ทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ติดกับจีน (2,185 กิโลเมตร)
               ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ติดกับลาว (235 กิโลเมตร) และไทย (2,401 กิโลเมตร)
               ทิศตะวันตก ติดกับอินเดีย (1,463 กิโลเมตร) และบังกลาเทศ (193 กิโลเมตร)                                                      ทิศใต้ ติดกับทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล
เขตแดนไทย-พม่า
           สหภาพพม่ามีเส้นเขตแดนติดต่อกับประเทศไทย ยาวประมาณ 2,400 กิโลเมตร ในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี  ประจวบคีรีขันธ์      ชุมพร  และระนอง
 พื้นที่   
       สหภาพพม่า มีพื้นที่ทั้งหมด 657,740 ตารางกิโลเมตร หรือมีขนาดประมาณ 1.3 เท่าของประเทศไทย
 ลักษณะภูมิประเทศ  
      สหภาพพม่ามีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นผืนดิน โดยมีส่วนที่เป็นผืนดินถึง ร้อยละ 97 ของพื้นที่ทั้งหมด และมีส่วนที่เป็นผืนน้ำประมาณร้อยละ 3
      ภาคเหนือ – เทือกเขาปัตไก เป็นพรมแดนระหว่างพม่าและอินเดีย       ภาคตะวันตก – เทือกเขาอาระกันโยมากั้นเป็นแนวยาว                     ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ – เป็นที่ราบสูงชัน                                   ภาคใต้ – มีทิวเขาตะนาวศรี กั้นระหว่างไทยกับพม่า
      ภาคกลาง – เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี
ลักษณะภูมิอากาศ  
-มรสุมเมืองร้อน
-ด้านหน้าภูเขาอาระกันโยมา ฝนตกชุกมาก
-ภาคกลางตอนบนแห้งแล้งมาก เพราะมีภูเขากั้นกำบังลม
-ภาคกลางตอนล่าง เป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำขนาดใหญ่ ปลูกข้าวเจ้า ปอ
-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศค่อนข้างเย็น และแห้งแล้ง



เมืองหลวง  
        เมืองหลวงของสหภาพพม่า คือ เปียงมนา เนปิดอว์ (ย้ายเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2548 ซึ่งนับเป็นการย้ายเมืองหลวงครั้งที่ 11 ของประวัติศาสตร์พม่า)




เมืองเนปิดอร์ เมืองหลวงของพม่า

 ประชากร     
      ประชากร 48.1 ล้านคน (ปี 2552) มีเผ่าพันธุ์ 135 เผ่าพันธุ์ ประกอบด้วย เชื้อชาติหลักๆ 8 กลุ่ม คือ
           - พม่า คิดเป็นร้อยละ 68 ของประชากรทั้งหมด
           - ไทยใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 8 ของประชากรทั้งหมด
           - กะเหรี่ยง คิดเป็นร้อยละ 7 ของประชากรทั้งหมด
           - ยะไข่ คิดเป็นร้อยละ 4 ของประชากรทั้งหมด
           - จีน คิดเป็นร้อยละ 3 ของประชากรทั้งหมด
           - มอญ คิดเป็นร้อยละ 2 ของประชากรทั้งหมด
           - อินเดีย คิดเป็นร้อยละ 2 ของประชากรทั้งหมด
           - อื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 6 ของประชากรทั้งหมด

  ศาสนา
              ศาสนาพุทธร้อยละ 90   ศาสนาอิสลามร้อยละ 4  ศาสนาฮินดูร้อยละ 4  และศาสนาคริสต์ร้อยละ 2


  ภาษา 
      ร้อยละ 85 ใช้ภาษาพม่า  ส่วนที่เหลือพูดภาษากระเหรี่ยง มอญ จีนกลาง  ภาษาราชการ คือ  ภาษาพม่า และภาษาอังกฤษ

 วัฒนธรรม
        ชาวพม่าถือว่าวัฒนธรรมเป็นดั่งรากแก้วของต้นไม้ที่ต้องปกปักรักษา วัฒนธรรมที่บ่งบอกความเป็นพม่า เช่น ภาษาพม่า พุทธศาสนา การบริโภคน้ำชา และที่เห็นได้ชัดอีกสิ่งหนึ่งก็คือการแต่งกาย ในอดีตแม้พม่าจะเคยเป็นอาณานิคมของตะวันตก แต่ชาวพม่าก็ยังคงวิถีชีวิตเดิมไว้ได้มาก ผู้ชายยังนิยมนุ่งโสร่ง ผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่น ทั้งยังชอบสวมรองเท้าแตะ และทาแป้งตะนาคา


การแต่งกายประจำชาติสหภาพพม่า

 การเมืองการปกครอง
       ระบบการปกครองของสหภาพพม่าเป็นแบบเผด็จการทางทหาร ปกครองโดย รัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council – SPDC)โดยมีประธาน SPDC เป็นประมุขประเทศ และ มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล
               - ประธาน SPDC พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย (Senior General Than Shwe)
               - นายกรัฐมนตรี พลเอก โซ วิน (General Soe Win)



ธงชาติสหภาพพม่า


การแบ่งเขตการปกครอง
      สหภาพพม่า แบ่งเขตการปกครองเป็น 7 รัฐ (state) สำหรับเขตที่ประชากร ส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อย ประกอบด้วย
               (1) รัฐชิน (Chin) เมืองเอก คือ ฮะคา
               (2) รัฐกะฉิ่น (Kachin) เมืองเอก คือ มิตจีนา
               (3) รัฐกะเหรี่ยง (Kayin) เมืองเอก คือ ปะอาน
               (4) รัฐกะยา (Kayah) เมืองเอก คือ หลอยก่อ
               (5) รัฐมอญ (Mon) เมืองเอก คือ มะละแหม่ง
               (6) รัฐยะไข่ (Rakhine) เมืองเอก คือ ซิตตเว
               (7) รัฐฉาน หรือรัฐไทใหญ่ (Shan) เมืองเอก คือ ตองยี
เขตที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายพม่า ประกอบด้วย
               (1) เขตอิระวดี (Ayeyarwady) เมืองเอก คือ พะสิม
               (2) เขตพะโค (Bago) เมืองเอก คือ พะโค
               (3) เขตมาเกว (Magway) เมืองเอก คือ มาเกว
               (4) เขตมัณ ฑะเลย์ (Mandalay) เมืองเอก คือ มัณฑะเลย์
               (5) เขตสะกาย (Sagaing) เมืองเอก คือ สะกาย
               (6) เขตตะนาวศรี (Tanintharyi) เมืองเอก คือ ทวาย
               (7) เขตย่างกุ้ง (Yangon) เมืองเอก คือ ย่างกุ้ง
    10. เศรษฐกิจ
          สหภาพพม่ามีระบบเศรษฐกิจแบบกลไกการตลาด โดยภาครัฐบาลมี กฎระเบียบควบคุมอย่างเข้มงวด โดยภาคเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ภาคการ เกษตรกรรมร้อยละ 40.9 รองลงมา คือ ภาคบริการร้อยละ 39.3 และ ภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 19.8 (ปี 2551)
        1.   ภาคการเกษตร ผลผลิตที่สำคัญได้แก่ ข้าว ไม้สัก ถั่วต่างๆ งา ยางพารา อ้อย ฝ้าย ข้าวโพด ปาล์มน้ำมัน โค กระบือ และสินค้าประมง
        2.   ภาคบริการ ที่สำคัญ ได้แก่ การค้าส่งและค้าปลีก ธุรกิจธนาคารและ สถาบันการเงิน การขนส่ง โทรคมนาคมการท่องเที่ยว และโรงแรม
        3.   ภาคอุตสาหกรรม ที่สำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน อัญมณี สินแร่ สิ่งทอ สินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องดื่ม และเฟอร์นิเจอร์ไม้



สกุลเงิน   
          จั๊ต (Kyat)     อัตราการแลกเปลี่ยน    ประมาณ 0.1934 จั๊ต ต่อ 1 บาท (ธันวาคม 2552)





 ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
       ไทยและพม่าได้ลงนามความตกลงทางวัฒนธรรมไทย-พม่า เมื่อวันที่  24 สิงหาคม 2542  โดยกำหนดให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความร่วมมือในการบูรณะปฏิสังขรณ์โบราณสถานและโบราณวัตถุในพม่า
        ไทยให้ความร่วมมือทางวิชาการแก่พม่าใน 3 สาขาคือ การเกษตร การศึกษา และสาธารณสุข นอกจากนี้ ฝ่ายไทยได้ให้ความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปศุสัตว์และการประมง การคมนาคม การท่องเที่ยว วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการบินพลเรือนด้วย
ศศิคุณ กาญจนพิบูลย์ ม.4/5 เลขที่ 27

ประเทศไทย


ไทย



ประเทศไทย



ที่ตั้งอาณาเขต
     ที่ตั้งของประเทศไทย ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอินโดจีน  อยู่ในทวีปเอเซียในดินแดนที่เรียกว่า "ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้"
ทิศเหนือ อยู่ที่ละติจูด 20 องศา 27 ลิบดาเหนือ
ทิศใต้ อยู่ที่ละติจูด 5 องศา 37 ลิบดาเหนือ
ทิศตะวันออก อยู่ที่ละติจูด 105 องศา 37 ลิบดาตะวันออก
ทิศตะวันตก อยู่ที่ละติจูด 97 องศา 22 ลิบตาตะวันออก
 พื้นที่
     ขนาด ประเทศไทยมีเนื้อที่ประมาณ 513,115.06 ตารางกิโลเมตร (198,454 ตารางไมล์) มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ รองจากอินโดนีเซียและพม่า ส่วนที่กว้างที่สุดของไทย มีความยาวประมาณ 750 กิโลเมตร คือ จากด่านเจดีย์สามองค์ อำเภอสังขละบุรีจังหวัดกาญจนบุรี  ถึงช่องเม็ก อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี  สำหรับส่วนที่แคบที่สุดมีความกว้างประมาณ 10.6 กิโลเมตร อยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และความยาวจากเหนือสุดจากอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ถึงอำเภอเบตง จังหวัดยะลา มีความยาวประมาณ 1,640 กิโลเมตร
 ลักษณะภูมิประเทศ 
          ลักษณะภูมิประเทศของไทย แบ่งออกได้เป็น 6  ภาค
1.  ภาคเหนือ พื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเทือกเขาสูงสลับกับที่ราบหุบเขา ที่สำคัญคือ ภูเขา แดนลาว ภูเขาหลวงพระบาง ภูเขาถนนธงชัย ภูเขาเพชรบูรณ์ ภูเขาขุนตาล ภูเขาผีปันน้ำ เป็นที่เกิดของแม่น้ำลำธารหลายสาย เช่น แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน แม่น้ำป่าสัก เป็นที่ตั้งของเมืองสำคัญ เช่น เชียงใหม่ ลำปาง เชียงราย เป็นต้น แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ไหนลงสู่ภาคกลางมารวมกันที่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นจุดเริ่มต้นของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นแม่น้ำที่สำคัญที่สุดเปรียบเสมือน "เส้นเลือดใหญ่" ของประเทศ
2.  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นบริเวณที่มีพื้นที่กว้างขวางมาก มีพื้นที่ถึง 170,000 ตร.กม. หรือประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งประเทศ พื้นที่ทางด้านตะวันตกเป็นเทือกเขาเพชรบูรณ์ ทอดเชื่อมกับเทือกเขาดงพญาเย็น ทำให้เกิด "ภู" น้อยใหญ่ เช่น ภูกระดึง ภูหลวง ภูเขียว ภูเรือ ทางทิศใต้มีเทือกเขาสันกำแพงและเทือกเขาพนมดงรัก เป็นที่เกิดของแม่น้ำ ลำธารสำคัญของภาคอีสานหลายสาย ได้แก่ แม่น้ำมูล แม่น้ำชี ลำตะคอง ลำพระเพลิง ลำโดมน้อย ลำโดมใหญ่ เป็นต้น พื้นที่ตอนกลางของภาคมีลักษณะคล้ายเกาะมีที่ราบกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ลักษณะดินเป็นดินปนทราย ไม่อุ้มน้ำ น้ำซึมผ่านได้รวดเร็ว ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือแห้งแล้งมากในฤดูแล้ง
3.  ภาคกลาง เป็นที่ราบลุ่มที่เกิดจากการทับถมของดินตะกอน ซึ่งแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำสาขาต่าง ๆ พัดพามา ดินจึงมีความอุดมสมบูรณ์สูง มีการปลูกข้าวมากที่สุดของประเทศ เรียกได้ว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของไทย และเป็นเขตที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นมากที่สุด
4.  ภาคตะวันออก ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและเนินเขาลดลงสู่ที่ราบชายฝั่งทะเล มีแม่น้ำสายสั้น ๆ ซึ่งเกิดจากเทือกเขาจันทบุรีและเทือกเขาบรรทัด ไหลลงสู่อ่าวไทย
   5. ภาคตะวันตก มีลักษณะเป็นเทือกเขาและหุบเขา แต่มีความสูงไม่มากนัก เทือกเขาที่สำคัญ ได้แก่ เทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาถนนธงชัย ที่ราบหุบเขาที่สำคัญในภาคนี้ คือ ที่ราบลุ่มแม่น้ำแม่กลอง ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำใหญ่ 2 สาย คือ แควน้อยและแควใหญ่ ไหลลงสู่อ่าวไทยที่จังหวัดสมุทรสงคราม
   6. ภาคใต้ มีลัษณะเป็นมหาสมุทรแคบ ๆ ตั้งอยู่ระหว่างอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ตอนกลางของคาบสมุทรมีเทือกเขาติดต่อกันเป็นแนวยาวไปจนจรดพรมแดนมาเลเซีย ได้แก่ เทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขานครศรีธรรมราช เทือกเขาสันกาลาคีรี เทือกเขาภูเก็ต ทำให้แบ่งพื้นที่ของภาคใต้ออกเป็น 2 ส่วน คือ ที่ราบชายฝั่งทะเลตะวันตก
และที่ราบชายฝั่งทะเลตะวันออก แม่น้ำในภูมิภาคนี้เป็นแม่น้ำสายสั้น ๆ หลายสายที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำปราณบุรี แม่น้ำกระบี่ แม่น้ำหลังสวน แม่น้ำตรัง และแม่น้ำโกลก



ลักษณะภูมิอากาศ
ประเทศไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลของมรสุมสองชนิด คือ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ

1.  มรสุมตะวันตกเฉียงใต้
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดปกคลุมประเทศไทยระหว่างกลางเดีอนพฤษภาคมถึง กลางเดือนตุลาคม
โดยมีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกใต้ บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งพัดออกจากศูนย์กลางเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้ และเปลี่ยนเป็น ลมตะวันตกเฉียงใต้เมื่อพัดข้ามเส้นศูนย์สูตร มรสุมนี้จะนำมวลอากาศชื้นจากมหาสมุทรอินเดีย มาสู่ประเทศไทย ทำให้มีเมฆมากและฝนตกชุกทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามบริเวณชายฝั่งทะเล และเทือกเขาด้านรับลมจะมีฝนมากกว่าบริเวณอื่น
     2. มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
           หลังจากหมดอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้แล้ว ประมาณกลางเดือนตุลาคมจะมีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทยจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ มรสุมนี้มีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกเหนือแถบประเทศมองโกเลียและจีน จึงพัดพาเอามวลอากาศเย็นและแห้งจากแหล่งกำเนิดเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ทำให้ท้องฟ้าโปร่ง อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้งทั่วไป โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้จะมีฝนชุกโดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก เนื่องจากมรสุมนี้นำความชุ่มชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุม
      ฤดูกาล
       ประเทศไทยโดยทั่ว ๆ ไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู ดังนี้
     - ฤดูร้อน  ระหว่างกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม
     - ฤดูฝนระหว่างกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม
     - ฤดูหนาว ระหว่างกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์

เมืองหลวง
กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวง พื้นที่เมืองขนาดใหญ่ที่สุดและเป็นเมืองหลักที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญก้าวหน้าด้านอื่น ๆ ของประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลกอีกด้วย มีแม่น้ำสำคัญคือ แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน ทำให้แบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี โดยกรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตารางกิโลเมตรกรุงเทพมหานครเป็นเขตปกครองพิเศษของประเทศไทย โดยมิได้มีสถานะเป็นจังหวัด ซึ่งคำว่า กรุงเทพมหานคร นั้น ยังใช้เป็นคำเรียกสำนักงานปกครองส่วนท้องถิ่นของกรุงเทพมหานครอีกด้วย ปัจจุบันกรุงเทพมหานครใช้วิธีการเลือกตั้งผู้บริหารแบบการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง
         ใน พ.ศ. 2552 กรุงเทพมหานครเป็นเมืองค่าครองชีพสูงสุดอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากสิงคโปร์กรุงเทพมหานครมีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น พระบรมมหาราชวัง พระที่นั่งวิมานเมฆและวัดต่าง ๆ ซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศประมาณ 11 ล้านคนในแต่ละปี นับเป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศมากที่สุดรองจากปารีสและลอนดอน
                                    

 ประชากร  

          จำนวนประชากรประเทศไทย  64.7 ล้านคน (2551) ตามการประมาณของ CIA The World Factbook เมื่อปี พ.ศ. 2553 ประชากรทั้งหมดของประเทศไทยมีประมาณ 66,404,688 คน ประกอบด้วยไทยสยามประมาณร้อยละ 75 ไทยเชื้อสายจีนร้อยละ 14 ไทยเชื้อสายมลายูร้อยละ 3 ประเทศไทยประสบปัญหาอัตราการเกิดต่ำกว่ามาตรฐาน โดยที่ในปี พ.ศ. 2551 อัตราการเกิดของประชากรอยู่ที่ 1.5% และมีแนวโน้มที่จะลดลงเหลือเพียง 1.45% ในปี พ.ศ. 2568 ซึ่งมีสาเหตุมาจากอัตราการคุมกำเนิดที่เพิ่มสูงขึ้น โดยคิดเป็น 81% ในปี พ.ศ. 2551  ซึ่งเมื่อประกอบกับอัตราการตายที่ลดลงในศตวรรษที่ผ่านมา ทำให้ประเทศไทยจะมีประชากรสูงวัยมากขึ้นในอนาคต

         ในประเทศไทยถือได้ว่ามีความหลากหลายทางเชื้อชาติ โดยมีทั้ง ชาวไทย ชาวไทยเชื้อสายลาว ชาวไทยเชื้อสายมอญ ชาวไทยเชื้อสายเขมร รวมไปถึงกลุ่มชาวไทยเชื้อสายจีน ชาวไทยเชื้อสายมลายู ชาวชวา (แขกแพ) ชาวจาม (แขกจาม) ชาวเวียด ชาวพม่า และชาวไทยภูเขาเผ่าต่าง ๆ เช่น ชาวกะเหรี่ยง ลีซอ ชาวม้ง ส่วย เป็นต้น ในปี พ.ศ. 2553 ตามข้อมูลของสภาความมั่นคงแห่งชาติ ประเทศไทยมีแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายอยู่ 1.4 ล้านคน โดยมีอีกเท่าตัวที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน ตามข้อมูลการอพยพระหว่างประเทศของสหประชาชาติ ระบุว่า ในปี พ.ศ. 2548 ประเทศไทยมีผู้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่จำนวน 1.05 ล้านคน คิดเป็น 1.6% ของจำนวนประชากร
         ประเทศไทยมีการแบ่งแยกเชื้อชาติและชาติพันธุ์น้อยกว่าเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านมาก โดยสนับสนุนความเป็นอิสระในแต่ละเชื้อชาติ ได้มีนักวิชาการตะวันตกเขียนเอาไว้ว่า ประเทศไทยเป็น "สังคมที่มีโครงสร้างอย่างหลวม ๆ





 การเมืองการปกครอง : ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

      * พระมหากษัตริย์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร (His Majesty King Bhumibol Adulyadej) * นายกรัฐมนตรี คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (Mr.Abhisit Vejjajiva) (17 ธันวาคม พ.ศ.2551)



รัฐสภาไทย


 ศาสนา

        ประมาณร้อยละ 95 ของประชากรไทยนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติโดยพฤตินัย แม้ว่ายังจะไม่มีการบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยก็ตาม ศาสนาอิสลามประมาณร้อยละ 4 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวไทยทางภาคใต้ตอนล่าง ศาสนาคริสต์และศาสนาอื่นประมาณร้อยละ 1


 ภาษา

      ประเทศไทยมีภาษาไทยเป็นภาษาทางการ และเป็นภาษาหลักที่ใช้ติดต่อสื่อสาร การศึกษาและเป็นภาษาพูดที่ใช้กันทั่วประเทศ โดยใช้อักษรไทยเป็นรูปแบบมาตรฐานในการเขียน ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นอย่างเป็นทางการในสมัยสุโขทัยโดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช นอกเหนือจากภาษาไทยกลางแล้ว ภาษาไทยสำเนียงอื่นยังมีการใช้งานในแต่ละภูมิภาคเช่น ภาษาไทยถิ่นเหนือในภาคเหนือ ภาษาไทยถิ่นใต้ในภาคใต้ และภาษาไทยถิ่นอีสานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

นอกเหนือจากภาษาไทยแล้ว ในประเทศไทยยังมีการใช้งานภาษาของชนกลุ่มน้อยเช่น ภาษาจีนโดยเฉพาะสำเนียงแต้จิ๋ว ภาษาลาวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งบางครั้งนิยามว่าภาษาลาวสำเนียงไทย ภาษามลายูปัตตานีทางภาคใต้ นอกจากนี้ก็มีภาษาอื่นเช่น ภาษากวย ภาษากะยาตะวันออก ภาษาพวน ภาษาไทลื้อ ภาษาไทใหญ่ รวมไปถึงภาษาที่ใช้กันในชนเผ่าภูเขา ประกอบด้วยตระกูลภาษามอญ-เขมร เช่น ภาษามอญ ภาษาเขมร ภาษาเวียดนาม และภาษามลาบรี; ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน เช่น ภาษาจาม; ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต เช่น ภาษาม้ง ภาษากะเหรี่ยง และภาษาไตอื่น ๆ เช่น ภาษาผู้ไท ภาษาแสก เป็นต้น
ภาษาอังกฤษและอักษรอังกฤษมีสอนในระดับโรงเรียนและมหาวิทยาลัย แต่จำนวนผู้ที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้คล่องในประเทศไทยยังคงมีจำนวนน้อยอยู่ และส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตเมืองและในครอบครัวที่มีการศึกษาดีเท่านั้น ซึ่งในด้านความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษนั้น จากที่ประเทศไทยเคยอยู่ในระดับแนวหน้าในปี พ.ศ. 2540 แต่เมื่อกลางปี พ.ศ. 2549 ไทยกลับล้าหลังประเทศลาวและประเทศเวียดนาม
 เศรษฐกิจ
           1. ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำ อันเนื่องมาจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ
            - คนไทยใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
            - ค่าเงินบาทแข็งเกินไป
            - ความสามารถในการแข่งกับตลาดต่างประเทศต่ำลง
          2. เสถียรภาพทางเศรษฐกิจต่ำ
          3. ยังคงมีปัญหาเรื่องความยากจนและการกระจายรายได้
          4. คุณภาพชีวิตประชากร
             - อัตราการเพิ่มประชากรลดลง ทำให้โครงสร้างประชากรเปลี่ยนไป (วัยเด็กลดลงวัยอื่นๆเพิ่มขึ้น)
             - อายุขัยประชากรเพิ่มขึ้น
             - อัตราการตายของทารกแรกเกิดน้อยลง
             - อัตราทุกโภชนาการน้อยลงรวดเร็วมาก
          5. การศึกษาพัฒนาไปเร็ว
  แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในอนาคต
       แนวโน้มเศรษฐกิจโลก
    1. ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีบรรยากาศที่เหมาะแก่การลงทุน อันเนื่องมาจาก
        - ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์
        - ค่าแรงที่ถูก
        - ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจเอื้ออำนวย
        - การหมดอายุเช่าของฮ่องกง(ปีพ.ศ. 2540) และความไม่แน่นอนของบรรยากาศทางการเมืองในไต้หวัน
    2. ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ของเอเชียต้องปรับปรุงการผลิตและต้องการลดต้นทุนจึงหันมาลงทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น
    3. การรวมกลุ่มของ EU ทำให้
        - ประเทศในกลุ่มมีรายได้มากขึ้น และมีแนวโน้มจะสั่งสินค้าจากประเทศอื่นๆ
          มากขึ้นในระยะยาว
        - โลกส่วนอื่นรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจกันมากชึ้น
        - มีการต่อรองระหว่างกลุ่มประเทศต่างๆ
    4. ประเทศกลุ่มสังคมนิยมผ่อนคลายกฎเกณฑ์ลง เช่น จีน รัสเซีย
    5. ปริมาณเงินทุนและความช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาลดลง
    6. อัตราราคาสินค้าเกษตรกรรมมีแนวโน้มลดลง ขณะที่ราคาสินค้าอุตสาหกรรมมีแนวโน้มว่าอัตราจะเพิ่มขึ้น
     แนวโน้มเศรษฐกิจไทย
        ยังไม่ดีขึ้น เงินยังฝืด ว่างงานสูง
        อุปสรรคในการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย
    1. การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ
    2. ความขัดแย้งทางการเมือง
    3. ระบบราชการขาดประสิทธิภาพ
    4. สาธารณูปโภคพื้นฐานขาดแคลน เช่น ท่าเรือ, น้ำเพื่ออุตสาหกรรม
    5. ขาดแคลนแรงงานบางสาขา โดยเฉพาะสาขาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม
    ภาวะการเกษตรของไทย
        โครงสร้างการผลิตภาคเกษตรกรรม
    1. ภาคเกษตรกรรมมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ คือ
        1.1 พืชเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง อ้อย และข้าวโพด ผักและผลไม้ ปศุสัตว์
        1.2 ปัจจุบัน ผลผลิตทางการเกษตรของไทยมีความหลากหลายและกระจายประเภทมากขึ้น
    2. บทบาทของภาคเกษตรกรรมไทยในปัจจุบัน
    2.1 สถิติเกี่ยวกับภาวะเกษตรของไทย
    - ผลผลิตภาคเกษตรของไทยเพิ่มขึ้น
    - อัตราการเพิ่มผลผลิตการเกษตรในผลิตภัณฑ์ประชาชาติลดลง
    - แรงงานภาคเกษตรปัจจุบันลดลง
    - รายได้ส่วนใหญ่ของครัวเรือนเกษตรกรมาจากนอกภาคเกษตร
    2.2 บทบาทของภาคเกษตรกรรมไทยมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกันกับภาคอุตสาหกรรมและบริการ เนื่องมาจาก
    - ความต้องการและราคาสินค้าเกษตรกรรมมีแนวโน้มลดลง
    - รัฐให้การสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมมากกว่าภาคเกษตรกรรม
    - มีข้อจำกัดทางด้านทุนและที่ดิน
    ภาวะอุตสาหรรมของไทย
    1. ความเป็นมาของนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทย
    1.1 สมัยจอมพลสฤษฎ์ ธนะรัชต์ รัฐบาลไทยเริ่มให้บทบาทเอกชนในการพัฒนาอุตสาหกรรม และได้จัดแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรกขึ้น เพื่อสร้างปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจไว้รองรับ การลงทุนจากต่างชาติ
    1.2 ระยะแรกอุตสาหกรรมไทยเป็นแบบทดแทนการนำเข้า ต่อมารัฐบาลไทยหันมาส่งเสริม อุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก ใน พ.ศ.2515
    1.3 ปัจจุบัน มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไทยได้เพิ่มขึ้น
    1.4 โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมในไทยที่สำคัญ คือ โครงการพัฒนาชายฝั่งตะวันออก(ท่าเรือ แหลมฉบังและบริเวณมาบตาพุด) และโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้
    2. โครงสร้างการผลิตภาคอุตสาหกรรม
    2.1 ลักษณะสำคัญของอุตสาหกรรมไทยในปัจจุบัน คือ
    1. ยังใช้แรงงานเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิต
    2. ยังขาดอุตสาหกรรมหลัก
    3. อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ยังคงกระจุกตัวบริเวณ กทม. และปริมณฑล
    4.สัดส่วนรายได้ของภาคอุตสาหกรรมเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมส่งออก
    5.อุตสาหกรรมส่งออกของไทยที่สำคัญคือ computer
    6.ภาคอุตสาหกรรมบริการที่เจริญเติบโตรวดเร์วที่สุด คือ การท่องเที่ยว
    3. ปัญหาด้านอุตสาหกรรมของไทย
    3.1 มาตรฐานสินค้า
    3.2 บริการพื้นฐานทางเศรษฐกิจไม่เพียงพอ
    3.3 การกระจุกตัวของโรงงานอุตสาหกรรมบริเวณ กทม. และปริมณฑล

 สกุลเงิน : บาท (Baht : THB)


  ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน
1.  ความสัมพันธ์ทางสังคม เป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์ เช่น การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การศึกษา การศาสนา การท่องเที่ยว กิจกรรมที่ได้ดำเนินการ เช่น การแลกเปลี่ยนทุนการศึกษา การแสดงนาฏศิลป์ของแต่ละประเทศไปเผยแพร่ตามประเทศอื่น
2.  ความสัมพันธ์ทางการเมือง เป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ระหว่างประเทศเช่น การทูต การทหาร การแทรกแซงทางการเมือง การกำหนดนโยบายระหว่างประเทศ
     3.  ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ เป็นความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับการ “แลกเปลี่ยน” ทรัพยากร หรือ บริการ เช่นการซื้อขาย การกู้ยืม ประเทศไทยมีความต้องการด้านอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีใหม่ ในขณะเดียวกัน ประเทศทางยุโรปต้องการวัตถุดิบและน้ำมันจากตะวันออกกลาง ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ รวมถึงการตั้งกฎเกณฑ์ในเรื่องภาษีศุลกากร รวมทั้งการปิดล้อมทางเศรษฐกิจ
      4.  ความสัมพันธ์ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เป็นความสัมพันธ์ที่มีวัตถุประสงค์ในการแลกเปลี่ยนพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีในการใช้ประโยชน์ร่วมกันในการแก้ปัญหาของชาวโลก เช่น การส่งเสริมค้นคว้า ทดลองด้านวิทยาศาสตร์ในการป้องกันโรคมะเร็ง หรือการประชุมสัมมนาด้านวิทยาศาสตร์ ระหว่างประเทศ
      5.  ความสัมพันธ์ทางกฎหมาย เมื่อความสัมพันธ์ระหว่างพรมแดนมากขึ้น ปัญหาหรือการกำหนดสิ่งที่ปฏิบัติ
ร่วมกันต้องเกิดขึ้น เช่น เกิดสัญญา กติกา หรือข้อตกลงเกี่ยวกับน่านน้ำสากลระหว่างไทยกับเวียดนาม
ปาจรี ถวัลย์ภิยโย ม.4/5 เลขที่ 3

ประเทศสิงคโปร์



ประเทศสิงค์โปร์ 


ชื่อทางการ สาธารณรัฐสิงคโปร์

เมืองหลว สิงคโปร์

ไฟล์:Flag of Singapore.svg 

คำขวัญ: Majulah Singapura ("สิงคโปร์จงเจริญ") 

             ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศมาเลเซีย พื้นที่ 697.1 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ เป็นเกาะใหญ่ และมีเกาะเล็กอีกประมาณ 60 เกาะ โดยมีเกาะ Palau Tekong, Pulau Ubin Sentosa, Pulau Bukum, Pulau Merlimau และ Pulau Ayer Chawan เป็นเกาะที่มี ความสำคัญทางเศรษฐกิจของ ประเทศสิงคโปร์ ยอดเขาสูงที่สุดคือ Bukit Timah แม่น้ำสายหลักคือ Singapore และ Rochor สิงคโปร์มีถนน และรถไฟเชื่อมกับมาเลเซีย ณ Singapore/Johor Causeway ระยะทางประมาณ 6 กม.

 
แผนที่ประเทศสิงค์โปร์


ประชากร

            ประชากร สิงคโปร์ อยู่ทั้งสิ้นประมาณ 4.21 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นสุดในภูมิภาค และเป็นประเทศ เล็กที่สุดในภูมิภาค ประชากรนั้นประกอบไปด้วยชาวจีน (76.5%) ชาวมาเลย์ (13.8%) ชาวอินเดีย (8.1%) และอื่น ๆ (1.6%) เป็นเชื้อสายผสมระหว่างยุโรปกับเอเชีย และเชื้อสายอื่น ๆ ซึ่งอยู่ด้วยกันโดยไม่มีปัญหาความขัดแย้งด้านเชื้อชาติ

ศาสนา

             51% นับถือศาสนาพุทธ ลัทธิเต๋าและขงจื๊อ 15% นับถือศาสนาอิสลาม 4% นับถือศาสนาฮินดู 15% นับถือศาสนาคริสต์ และร้อยละที่เหลือคือลัทธิอื่นๆ

ภาษา

             ภาษา สิงคโปร์มีภาษาราชการถึง 4 ภาษาคือ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษามาเลย์ และทมิฬ โดยมีภาษามาเลย์เป็น ภาษาประจำชาติ สิงคโปร์ส่งเสริมให้ประชาชนพูด 2 ภาษา คือ ภาษาจีน และอังกฤษ ภาษาอังกฤษที่ใช้ในวงการธุรกิจ,การศึกษา,การติดต่องานและในชีวิตประจำวัน ส่วนภาษาจีนกลาง (แมนดาริน) เป็นภาษาที่มีการใช้ในการสื่อสารทางสังคมมากที่สุด เนื่องจากประชากรประกอบด้วยคนเชื้อชาติจีนประมาณ 70 %

สภาพภูมิอากาศ

             คล้ายกับประเทศไทย คือ เป็นแบบร้อนชื้น ฝนตกชุกตลอดปีเนื่องจากอิทธิพลทาง ทะเล และ ที่ตั้งของประเทศ อุณหภูมิเฉลี่ย 26.8 องศาเซลเซียส

เวลา

             เร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง (GMT +8.00)


ระบบไฟฟ้า

             กระแสไฟ 220 โวลต์ ใช้เต้าเสียบแบบ 3 ขา

สกุลเงินตรา

             หน่วยเงินตราของสิงคโปร์คือ ดอลลาร์ (Singapore Dollar) โดยแบ่งค่าเงินต่าง ๆ ออกเป็นดังนี้

             1. ธนบัตรมูลค่า S$2, S$5, S$10, S$20, S$50, S$100, S$500, S$1,000 และ S$10,000

             2. เงินเหรียญมีตั้งแต่ 1, 5, 10, 20 และ 50 เซนต์ รวมถึง S$ 1

สภาพสังคมและวัฒนธรรม

             เชื้อชาติที่ผสมผสานอย่างลงตัวและคุณภาพชีวิตที่ดีสิงคโปร์ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีคนจากหลากหลายเชื้อชาติ เช่น จีน มาเลย์ อินเดีย และลูกครึ่งระหว่างชาวเอเชียและชาวยุโรปมาอยู่ร่วมกันอย่างสงบและไม่มีปัญหาขัดแย้งเรื่องชนชาติระหว่างกัน โดยที่ทุกเชื้อชาติยังดำรงไว้ซึ่งวิถีการดำเนินชีวิต ประเพณีและวัฒนธรรมของตนไว้อย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ ในสิงคโปร์ยังมีผู้เชี่ยวชาญจากต่างชาติมากถึง 90,000 คน ที่เข้ามาอยู่อาศัยและทำงาน ซึ่งคนเหล่านี้ได้เข้ามาเผยแพร่ขนบธรรมเนียมและแลกเปลี่ยนแนวความคิดกับคนในประเทศ นับเป็นการเพิ่มสีสันให้กับชาวสิงคโปร์

ความปลอดภัย

             ในปัจจุบันนี้นักท่องเที่ยวจากที่ต่างๆทั่วโลกมีความกังวลในเรื่องความปลอดภัยระหว่างเดินทางมากกว่าเมื่อก่อนมาก การท่องเที่ยวสิงคโปร์จึงต้องการให้นักท่องเที่ยวเหล่านั้นมั่นใจว่าสถานการณ์ในประเทศสิงคโปร์สงบสุขและมีเสถียรภาพรัฐบาลสิงคโปร์จะทำทุกอย่างเพื่อให้มั่นใจว่าสิงคโปร์จะมีความปลอดภัย โดยการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยในสถานที่สำคัญๆ นอกจากนี้รัฐบาลยังมั่นใจว่าจะไม่มีความรุนแรงที่เกิดจากความแตกต่างทางเชื้อชาติหรือศาสนาในสิงคโปร์ และจะต่อต้านผู้ที่ใช้ความรุนแรงและผู้ก่อการร้ายให้ถึงที่สุด ตัวอย่างการปฏิบัติการที่รวดเร็วและตรงเป้าหมายของกรมการป้องกันประเทศของสิงคโปร์ หรือ Singapore Internal Security Department ได้แก่ การจับกุมผู้ก่อการร้าย 15 คน ในเดือนมกราคม 2002

การแต่งกาย

             ส่วนใหญ่เป็นแบบชาวตะวันตกโดยทั่วไปมีบางส่วนที่ยังคงแต่งกายตามเชื้อชาติ การแต่งกายสิงคโปร์เป็นประเทศเกาะเขตร้อนที่ตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร อากาศจึงเป็นแบบร้อนชื้นตลอดทั้งปี คุณสามารถเก็บเสื้อขนสัตว์ไว้ที่บ้านเลยแล้วแพ็คเสื้อผ้าสีสันสดใสสำหรับหน้าร้อนไปแทน เสื้อผ้าแบบสบายๆสามารถใส่ได้ทุกที่ทุกโอกาส แต่บางสถานที่เช่น ร้านอาหารและคลับอาจต้องแต่ตัวแบบเป็นทางการ ดังนั้นควรตรวจสอบกับสถานที่หรืองานนั้นๆก่อนสถานศึกษาบางแห่งอาจมีกฎระเบียบเกี่ยวกับการแต่งกาย เช่น ห้ามสวมกางเกงขาสั้นและรองเท้าแตะในห้องบรรยาย นักเรียนระดับประถม มัธยมและจูเนียร์คอลเลจจะสวมเครื่องแบบชุดนักเรียนสถานที่ในร่มส่วนใหญ่จะติดเครื่องปรับอากาศเพื่อคลายความร้อน ดังนั้นหากต้องอยู่ในที่แห่งนั้นนานๆอาจรู้สึกหนาวจึงควรเตรียมเสื้อไหมพรมอุ่นๆหรือแจ็กเกตไว้ด้วย

การสูบบุหรี่

             สิงคโปร์ห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ เช่น รถโดยสารสาธารณะ พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด ลิฟท์ โรงละคร โรงภาพยนตร์ ร้านอาหารติดเครื่องปรับอากาศ ร้านเสริมสวย ซูเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้า และสถานที่ราชการ หากฝ่าฝืนจะโดนปรับ 1,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ ทั้งนี้มีการอนุญาตให้สูบบุหรี่ในสถานที่ติดเครื่องปรับอากาศบางแห่ง เช่น ผับ ดิสโกเธค คาราโอเกะ และสถานบันเทิงยามราตรี

การถ่มน้ำลาย

             ห้ามถ่มน้ำลายในที่สาธารณะ

การให้ทิป

             ไม่จำเป็นต้องให้ทิป เนื่องจากโรงแรมและร้านอาหารส่วนใหญ่จะรวมค่าบริการ 10% ไว้ในใบเสร็จเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นการให้ทิปจึงไม่เป็นที่นิยมในสิงคโปร์และเป็นสิ่งต้องห้ามในบริเวณสนามบิน


การปกครอง

             ระบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล รัฐสภามีวาระคราวละ 5 ปี นโยบายต่างประเทศสิงคโปร์เน้นด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยีและการลงทุนจากต่างประเทศ 

เศรษฐกิจ

             สิงคโปร์จัดอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่เช่นเดียวกับ ฮ่องกง ไต้หวัน และเกาหลีใต้ ผลิตภัณฑ์ส่งออกหลัก คือ ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์นำเข้าส่วนใหญ่ ได้แก่ พลังงาน ( 40% ของการนำเข้าทั้งหมด) และอาหาร นอกจากนั้น การท่องเที่ยวก็นำรายได้เข้าประเทศมากเช่นกัน

กฎหมาย

             สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีชื่อเสียงเป็นที่กล่าวขานในเรื่องความปลอดภัย ความสะอาด ประชากรมีมาตรฐาน ความเป็นอยู่ ที่สูง เนื่องจากสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีกฎหมายลงโทษร้ายแรง คือ การประหารชีวิต หรือโทษจำคุกระยะยาว เช่น ที่สิงคโปร์นั้น ห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะอย่างเด็ดขาด หากฝ่าฝืนปรับถึง S$1,000 การทิ้งเศษขยะลงพื้น ฝ่าฝืนครั้งแรกถูกปรับ S$1,000 ครั้งต่อไป S$2,000 และ ต้องทำความสะอาดในที่ สาธารณะด้วย กฎหมายนี้รวมถึงการห้ามถ่มน้ำลายในที่สาธารณะ และ ห้ามเคี้ยวหมากฝรั่งด้วย ดังนั้น ไม่ควรนำหมากฝรั่งไปที่สิงคโปร์ การเสพหรือจำหน่ายยาเสพติด ในประเทศสิงคโปร์นั้น มีความผิดขั้นร้ายแรงถึงประหารชีวิต

ระบบการศึกษา

             สิงคโปร์มีระบบการศึกษาที่เป็นเลิศประเทศหนึ่งของโลก ทุกโรงเรียนควบคุมโดยกระทรวงศึกษาธิการโดยตรง ระบบการศึกษาของสิงคโปร์แบ่งเป็นชั้นประถมศึกษาใช้ระยะเวลา 6 ปี และมัธยมศึกษาใช้ระยะเวลา 4 ปี จากนั้น ต่อด้วยการเรียนในระดับสูงขึ้น เช่น โปลีเทคนิค จูเนียร์คอลเลจ และมหาวิทยาลัย และการที่จะได้คัดเลือกเข้าเรียนที่โรงเรียนสิงคโปร์นั้น นักเรียนจำเป็นจะต้องทำการสอบเพื่อประเมินผลโดยการสอบเข้าโรงเรียนนั้น นักเรียนจำเป็นต้องสอบภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ เป็นวิชาหลัก และอาจมีการทดสอบภาษาจีน ขึ้นอยู่กับโรงเรียนที่นักเรียนต้องการสอบเข้า และสำหรับนักเรียนต่างชาติที่มีความประสงค์จะเข้าศึกษาต่อในประเทศสิงคโปร์จำเป็นต้องเสียค่าบำรุงการศึกษา (Donations) ให้กับกระทรงศึกษาธิการของสิงคโปร์ เป็นจำนวนเงิน S$1,000 ทุก ๆ 2 ปี สำหรับเงินบริจาคนี้ไม่สามารถขอคืนได้

แหล่งท่องเที่ยว

             สิงคโปร์มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายเช่น การ Shopping ทีเป็นความฝันของใครหลายๆ คน ที่มาเยือน สิงคโปร์ ย่าน ศูนย์กลาง การชอปปิ้งของ ประเทศสิงคโปร์ คือ ถนน ออชาร์ด “Orchard Road” มีแหล่ง Shopping ที่น่าตื่นตาตื่นใจ มีสินค้ให้คุณ จับจ่าย สินค้าอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทำให้สิงคโปร์เป็นสถานที่ที่น่าประทับใจ และจะไม่มีวันลืม และนอกจากนั้นยังมีสถานที่ต่างๆที่น่าสนใจ อาทิเช่น “Singapore Zoological Gardens” เป็นสวนสัตว์มาตรฐานระดับโลก ซิ้งถูกสร้างและ ปรับปรุงให้กลมกลืนใกล้เคียงกับ ธรรมชาติมากที่สุด “Night Safari” เป็นสวนสัตว์เปิดที่บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา ทุ่มครึ่งไปจนถึงเที่ยงคืน คุณจะเพลิดเพลิน กับชีวิตสัตว์ป่าอย่างใกล้ชิดกับการนั่งรถราง ชมสัตว์ ที่ออกหากินยามค่ำคืน มากกว่า 100 ชนิด“Sentosa Island” เกาะเซนโตซ่า เป็นสถานท่องเที่ยวที่สร้างความสนุกสนานและความประทับใจ ให้กับทุกเพศทุกวัย โดยการเดินทางไปเกาะเซนโตซ่านั้นมีด้วยกัน 3 วิธี คือทางเรือเฟอร์รี่ รถยนต์ และกระเช้าลอยฟ้า “Singapore Botanic Garden” เป็นสวนพฤกษชาติที่มีพันธุ์พืชหลากหลายชนิดและ พืชที่หาดูได้ยาก โดยเฉพาะสวนเพาะกล้วยไม้ ที่มีกล้วยไม้ถึง 20,000 ต้นและเหตุนี้เองจึงเป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยว


 




ฐานัตต์ ฐิติอนันต์พร ม.4/5 เลขที่ 1

ประเทศเวียดนาม


สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม


เมืองหลวง กรุงฮานอย
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับสาธารณรัฐประชาชนจีน 
ทิศใต้ ติดกับอ่าวไทยและทะเลจีนใต้
ทิศตะวันออก ติดกับทะเลจีนใต้ 
ทิศตะวันตก ติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและ ติดกับราชอาณาจักร กัมพูชา

ภูมิศาสตร์ ประเทศเวียดนามมีลักษณะคล้ายตัว “s” ขนาดใหญ่ที่ยาวเหยียด โดยกินบริเวณไปตาม ความยาว ของคาบสมุทรอินโดจีน ตลอดแนวพรมแดนมีความยาว 3,730 กิโลเมตร พื้นที่ประมาณ 3 ใน 4 ของเวียดนาม ประกอบด้วยภูเขาและป่าไม้ บริเวณแผ่นดินทั้งหมดของเวียดนามมีพื้นที่ราว 327,500 ตารางกิโลเมตร นอกจาก นั้นอาณาเขตของประเทศยังรวมไปถึงพื้นที่ในทะเลอันกว้างใหญ่ ไพศาล ไม่ว่าจะเป็นไหล่ทวีปขนาดใหญ่ หรือหมู่เกาะ นับพันที่วางทอดยาวจากอ่าวตังเกี๋ยไปจนถึงอ่าว ไทย บริเวณที่กว้างที่สุดของประเทศอยู่ทางภาคเหนือมีระยะทาง 600 กิโลเมตร ส่วนที่แคบที่สุดระยะ ทาง 50 กิโลเมตร

ภูมิอากาศ ลักษณะภูมิประเทศที่มีความยาว 1650 กิโลเมตร จากเหนือจรดใต้และภูมิอากาศมรสุมเขต ร้อน ทำให้อุณหภูมิและอัตราฝนตกแตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ อุณหภูมิและอัตราฝนตกแตกต่างกัน ไปตามแต่ละพื้นที่ อุณหภูมิในภาคเหนืออาจลงต่ำถึง 10 องศา และมีลมหนาวจัด ภาคมต้ร้อนตลอดทั้งปี และมีสภาวะ อากาศแบบมรสุมภาคเหนือมี 2 ฤดู คือฤดูหนาวและฤดูร้อน ฤดูเริ่มร้อนตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน อากาศร้อนชื้นีฝนตกมาก ฤดูหนาวปกติจะแห้งและหนาวจัด ในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมมีฝนตากประ ปราย ภาคกลางจากดานัง ถึงยาตรังมีลักษณะอากาศที่แตกต่างออกไปเนื่องจากมีมรสุม ฤดูแล้งเริ่มตั้ง แต่เดือน มกราคม ถึงเดือนกันยายน มีฝน ตกตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงกลางเดือนมกราคม ภาคใต้มี 2 ฤดู คือ ฤดูฝนและฤดูแล้ง ฝนจะเริ่มตกเดือนพฤษภาคมและสิ้นสุดในเดือนพฤศจิกายน ระหว่างนี้ จะมีฝนตกหนักราววันละ 20 หรือ30 นาทีนตอนบ่ายหรือตอนเย็น ลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงปลาย เดือนเมษายนอากาศ ร้อนจัด อุณหภูมิ 30 องศากว่าต้นๆ มีอัตราความชื้นสูง ฤดูแล้งเริ่มตั้งแต่เดือน ธันวาคมถึงเดือนเมษายน

ประชากร มีประชากรทั้งสิ้นประมาณ 86,116,559 คน ซึ่งเกือบ 90% เป็นชาวเวียดนามซึ่งมีถิ่นอาศัยดั้งเดิมอยู่แถบ ตอนใต้ของจีนและ ทางด้านตอนเหนือประเทศเวียดนาม ชนกลุ่มน้อยในประเทศเวียดนามมี อยู่ประมาณ 10% ของประชากรทั่ว ทั้งประเทศกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดคือชาวจีนประมาณ 1.2 ล้านคน ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของ ประเทศ สำหรับชน กลุ่มน้อยที่ใหญ่รองลงมาก็คือชาวเขา ซึ่งแบ่งออกเป็น 30 เผ่า ชนกลุ่มน้อยอันดับที่สาม คือชาวเขมร มีประมาณ 600,000 คน



ระบอบการปกครอง คอมมิวนิสต์

เขตการปกครอง สาธารณรัฐเวียดนามแบ่งออกเป็น 53 เขตการปกครอง มีเมืองใหญ่ 3 เมือง คือฮานอย กรุงโฮจิมินห์ และไฮฟอง และ 50 มณฑล

ภาษา ภาษาเวียดนามขึ้นชื่อว่าเป็นภาษาที่ยาก ป็นภาษาที่ อยู่ในกลุ่มภาษาออสโตรเอเชียติกและ ได้รับอิทธิพลมาจากภาษาจีนและธิเบต ชาว เวียดนาม ประดิษฐ์อักษร ของตัวเองขึ้นมาโดยอาศัย แบบอย่างมาจากจีนแต่ได้ปรับเปลี่ยน ให้เข้ากับ ภาษาที่ตัวเองต้องการเรียกว่า“โนมจน”ต่อมา บาทหลวงชาวฝรั่งเศสได้แปลภาษา ให้เป็นแบบโรมัน เรียกว่า “กว๊อก หงือ”ปัจจุบันวัยรุ่นหนุ่มสาวเวียดนามหันมาพูด ภาษาอังกฤษกันมากขึ้นส่วนภาษา ฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มักจะใช้ในหมู่ผู้สูงอายุเท่านั้น

ศาสนา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ 55% คริสต์ 7% และศาสนาอื่น ๆ อีก 38%

สกุลเงิน หน่วยเงินของเวียดนามคือ ด่อง ซึ่งแบ่งออกเป็นธนบัตรใบละ 200 , 500 , 1,000 , 2,000 , 5,000 10,000 และ 20,000 ด่อง โดยทั่วไป 1 USD แลกได้ 15,000 ด่อง และ 400 ด่อง ต่อ 1 บาทไทย
นวรัตน์ ปลื้มเจริญ ม.4/5 เลขที่ 20